คุณกำลังมองหาอะไร?

ำไม? ต้องมีส่งเสริมการเกิด

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

18.10.2566
47
0
แชร์
18
ตุลาคม
2566

ในปี 2566 ประเทศไทยประสบปัญหาจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมในปี 2506-2526 มีเด็กเกิดใหม่ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน ลดลงเหลือ 502,107 คน ในปี 2565 และอาจจะต่ำกว่า 500,000 คน ในปี 2566 ขณะที่จำนวนการเกิดลดลงจำนวนผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้น โดยในปี 2564 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ คือ มีประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 และในปี 2579 จะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด คือ มีประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 30 ทำให้ในปี 2566 เป็นปีแรกที่จำนวนประชากรเข้าสู่วัยแรงงาน อายุ 20-24 ปี ไม่สามารถชดเชยจำนวนประชากรที่ออกจากวัยแรงงาน อายุ 60-64 ปีได้

นอกจากปัญหาการเกิดแล้วยังพบปัญหาคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กด้วย โดยอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนประเทศ เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กตั้งแต่ในครรภ์ เพื่อส่งเสริมการเกิดให้มีคุณภาพ ย่อมสัมพันธ์กับการพัฒนาสุขภาพอนามัยของแม่ เนื่องด้วยสุขภาพของแม่ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด ในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาโครงสร้างสมองสูงสุด อีกทั้งยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรค ระบบเผาผลาญ ระบบทางเดินอาหารของร่างกายให้สมบูรณ์ โรคหรือภาวะหลายอย่างที่พบในพ่อ แม่หรือที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบหรือมีอันตรายต่อทารก ในครรภ์ได้ เช่น ปัญหาการขาดสารอาหาร โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย ภาวะกลุ่มอาการดาวน์ โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เอดส์ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน รวมถึงโรคอายุรกรรมร้ายแรงที่ไม่ควรตั้งครรภ์ เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการดูแลส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ทารกสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องในการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย

ที่มาข้อมูล : คลินิกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (แม่และเด็ก) ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

ปรึกษาปัญาหาการมีบุตรได้ที่ โทรศัพท์ 056-255451-5 ต่อ 448

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน