กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
คุณแม่ตั้งครรภ์ อาจจะเคยได้ยินคำว่า "เจาะน้ำคร่ำ" แต่ก็มีหลายท่านที่มีข้อสงสัยว่าตั้งท้องต้องเจาะน้ำคร่ำทุกคนไหม หรือต้องมีข้อบ่งชี้อะไร ถึงควรได้รับการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
เจาะน้ำคร่ำ คืออะไร
การเจาะน้ำคร่ำ คือวิธีการที่คุณหมอใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านบริเวณหน้าท้องของคุณแม่เข้าไปในถุงน้ำคร่ำของทารก เพื่อดูดเอาน้ำคร่ำออกมา ซึ่งในน้ำคร่ำจะมีเซลล์ของทารกปนอยู่ คุณหมอก็จะนำเซลล์ดังกล่าวไปตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของทารกในครรภ์ หรือวินิจฉัยโรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคทางพันธุกรรมของทารกตั้งแต่อยู่ในท้องได้ นอกจากนี้สามารถนำเซลล์เหล่านี้ไปเพาะเลี้ยงและตรวจดูจำนวนโครโมโซมต่อไป
ตั้งครรภ์แล้วต้องเจาะน้ำคร่ำทุกคนไหม
เนื่องจากการเจาะน้ำคร่ำ มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นมีเลือดออกขณะเจาะ, น้ำคร่ำรั่ว หรือภาวะแท้ง เพราะฉะนั้นการเจาะน้ำคร่ำไม่สามารถเจาะได้ในผู้หญิงท้องทุกคน โดยเลือกกลุ่มคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะเป็นโรคต่าง ๆ ที่คุณหมอสงสัยให้ทำการเจาะน้ำคร่ำ
คุณแม่กลุ่มไหนที่ควรเจาะน้ำคร่ำ
เมื่อไหร่ถึงควรเจาะน้ำคร่ำ
การเจาะตรวจน้ำคร่ำจะทำในช่วงเวลาที่ทารกมีปริมาณน้ำคร่ำมากเพียงพอ อายุครรภ์ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 16 ถึง 20 สัปดาห์ในช่วงเวลาดังกล่าว ทารกจะมีน้ำคร่ำประมาณ 200 ซีซี การตรวจน้ำคร่ำ แพทย์จะเก็บน้ำคร่ำไปตรวจประมาณ 20 ซีซี น้ำคร่ำจำนวนนี้ทารกจะสร้างขึ้นใหม่ภายในเวลาประมาณ 24 ชม. ปริมาณน้ำคร่ำที่ลดลงไปชั่วคราวนี้ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อสุขภาพของทารกในครรภ์
ข้อดีของการตรวจเจาะน้ำคร่ำ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเจาะน้ำคร่ำ
การเจาะน้ำคร่ำจะช่วยให้สามารถตรวจพบความผิดปกติ และวางแผนแก้ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัย หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะอาจเกิดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แพทย์ก็จะไม่แนะนำให้เข้ารับการเจาะน้ำคร่ำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : คลินิกฝากครรภ์ 056-255451 ถึง 4 ต่อ 501 หรือ 136, 142, 436 (ในวันและเวลาราชการ)
ที่มาข้อมูล : ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น