คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School: HLS) เขตสุขภาพที่ 3

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.11.2567
0
0
แชร์
29
พฤศจิกายน
2567

เรื่อง การพัฒนารูปแบบการด าเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School: HLS)เขตสุขภาพที่ 3
ผู้จัดทำ : กลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพงานวัยเรียนวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
การบ่งชี้ความรู้
ความเป็นมาของปัญหา
เด็กเป็นกำลังสำคัญ ที่จะต้องเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ที่ท าหน้าที่พัฒนาชาติ บริหารบ้านเมืองต่อไปในอนาคต จึงต้อง
ให้ความส าคัญกับเด็ก ตลอดจนให้การศึกษาอบรมเลี้ยงดู และวางแผนพัฒนาเพื่อวางรากฐานให้เด็กมีคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและเป็นคนดีของประเทศชาติโดยสมบูรณ์ ปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของเด็กไทยคือการท าให้เด็กทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดี ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
ปัจจุบันเป็นยุคสังคมก้มหน้า ชีวิตเต็มไปด้วยเทคโนโลยีและ สิ่งอ านวยความสะดวกมากมาย การใช้ชีวิตของ
เด็กไทยจึงสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็ นปัญหาของทั้งโลก ปัญหาสุขภาพ
ของเด็กวัยเรียนในปัจจุบันมีความแตกต่างจากในอดีต เนื่องจากสภาพสังคม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็ว ใช้ชีวิตอยู่บนฐานความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ติดกระแสบริโภคนิยม เช่นขนม
กรุบกรอบ เครื่องดื่มรสหวาน น้ าอัดลม ติดเกม มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง รวมถึงละเลยการดูแลสุขภาพอนามัย
ส่วนบุคคล จากเวทีประชุมระดับโลกด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสุขภาพครั้งที่ 6 หรือ ISPAH 2016 ผล
ส ารวจกิจกรรมทางกายส าหรับเด็กและเยาวชนไทย หรือ Report Card ร่วมกับ อีก 37 ประเทศทั่วโลก (นักเรียน
อายุ 6 - 17 ปี )พบว่ามีเด็กไทย 23.2 % ที่มีกิจกรรมทางกายรวมกันอย่างน้อยวันละ 60 นาทีต่อวัน ทุกวันในหนึ่ง
สัปดาห์ ขณะที่มีเด็กไทยเพียง 21.8% เท่านั้นที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior)ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
ในปีงบประมาณ 2558 กองสุขศึกษา ได้ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตามสุขบัญญัติ
แห่งชาติ ในกลุ่มเด็กวัยเรียน (อายุ 7-14 ปี)พบว่า ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับพอใช้ (ร้อยละ59.94)
และ ระดับดีมาก (ร้อยละ 36.97) มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในระดับ ไม่ดี (ร้อยละ 3.09) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพตามสุข
บัญญัติแห่งชาติพบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพในระดับดีมาก (ร้อยละ 45.08) รองลงมา คือระดับพอใช้
(ร้อยละ 36.72) มีเพียงส่วนน้อยที่มีพฤติกรรมสุขภาพในระดับไม่ดี (ร้อยละ 18.20) ในปี 2560 ศูนย์อนามัยที่ 3 ลง
ส ารวจพฤติกรรมพึงประสงค์ของเด็กวัยเรียนเขตสุขภาพที่ 3 พบว่า เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมพึงประสงค์ ด้าน
โภชนาการเหมาะสม ร้อยละ 13.9 ด้านออกก าลังกายเหมาะสม เพียงร้อยละ 6.1 และด้านการนอนหลับเหมาะสม
ร้อยละ 71.8 จากผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ
และพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน หากเด็กวัยเรียนวัยรุ่น
ส่วนใหญ่ของประเทศมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ า ย่อมจะส่งผลต่อสภาวะสุขภาพในภาพรวมของประเทศ
จากสถานการณ์ปัญหา ส่งผลต่อเนื่องให้ เกิดโรคที่มีมากในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่แนวโน้ม
สูงขึ้นเรื่อยๆ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ จ าเป็นอย่างยิ่งในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้เด็กวัยเรียน มี
พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยการส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวบุคคล (ปัจจัยน า)
เช่น ความรู้ การรับรู้ ความเข้าใจ และปัจจัยแวดล้อม (ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม) อย่างเหมาะสม ในการพัฒนาปัจจัย
ภายในจะต้องปลูกฝังให้เด็กเกิด “Health Literacy”หรือ”ความรอบรู้ด้านสุขภาพ” ซึ่งหมายถึง ความสามารถและ
ทักษะในการเข้าถึง ข้อมูลด้านสุขภาพ ความรู้ ความเข้าใจเพื่อวิเคราะห์ ประเมินและจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถ
ชี้แนะเรื่อง สุขภาพแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชนได้
การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพหรือการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ให้แก่เด็กวัยเรียน เป็น
เป้าหมายส าคัญของการพัฒนา จ าเป็นต้องมีวิธีการหรือรูปแบบความเชื่อมโยงของพฤติกรรมต่างๆในชีวิตปะจ าวัน
และปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ ยวข้อง เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ การดูแลสุขภาพ ในชีวิตประจ าวันของตนเอง กลุ่มพัฒนาการ
ส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น จึงจัดท า กิจกรรมในการพัฒนารูปแบบการด าเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ เขต
สุขภาพที่ 3 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่น ทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนให้มี
สุขภาพที่ดีขึ้น และเป็นกุญแจสู่ความส าเร็จของแผนสุขภาพระดับเขตสุขภาพ ซี่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุก
ภาคส่วนในการขับเคลื่อนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างองค์กรรอบรู้ สู่สังคมรอบรู้สุขภาพ

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนารูปแบบการดาเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ.pdf
ขนาดไฟล์ 3MB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน