กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดาเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School: HLS)เขตสุขภาพที่ ๓
ผู้จัดทำ : กลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพงานวัยเรียนวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
การบ่งชี้ความรู้
ความเป็นมาของปัญหา
เด็กเป็นกาลังสาคัญ ที่จะต้องเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ที่ทาหน้าที่พัฒนาชาติ บริหารบ้านเมืองต่อไปในอนาคต จึงต้อง
ให้ความสาคัญกับเด็ก ตลอดจนให้การศึกษาอบรมเลี้ยงดู และวางแผนพัฒนาเพื่อวางรากฐานให้เด็กมีคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและเป็นคนดีของประเทศชาติโดยสมบูรณ์ ปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของเด็กไทยคือการทาให้เด็กทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดี ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
ปัจจุบันเป็นยุคสังคมก้มหน้า ชีวิตเต็มไปด้วยเทคโนโลยีและ สิ่งอานวยความสะดวกมากมาย การใช้ชีวิตของ
เด็กไทยจึงสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็ นปัญหาของทั้งโลก ปัญหาสุขภาพ
ของเด็กวัยเรียนในปัจจุบันมีความแตกต่างจากในอดีต เนื่องจากสภาพสังคม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็ว ใช้ชีวิตอยู่บนฐานความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ติดกระแสบริโภคนิยม เช่นขนม
กรุบกรอบ เครื่องดื่มรสหวาน น้าอัดลม ติดเกม มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง รวมถึงละเลยการดูแลสุขภาพอนามัย
ส่วนบุคคล จากเวทีประชุมระดับโลกด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสุขภาพครั้งที่ 6 หรือ ISPAH 2016 ผล
สารวจกิจกรรมทางกายสาหรับเด็กและเยาวชนไทย หรือ Report Card ร่วมกับ อีก 37 ประเทศทั่วโลก (นักเรียน
อายุ 6 - 17 ปี )พบว่ามีเด็กไทย 23.2 % ที่มีกิจกรรมทางกายรวมกันอย่างน้อยวันละ 60 นาทีต่อวัน ทุกวันในหนึ่ง
สัปดาห์ ขณะที่มีเด็กไทยเพียง 21.8% เท่านั้นที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior)ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
ในปีงบประมาณ 2558 กองสุขศึกษา ได้ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตามสุขบัญญัติ
แห่งชาติ ในกลุ่มเด็กวัยเรียน (อายุ 7-14 ปี)พบว่า ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับพอใช้ (ร้อยละ59.94)
และ ระดับดีมาก (ร้อยละ 36.97) มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในระดับ ไม่ดี (ร้อยละ 3.09) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพตามสุข
บัญญัติแห่งชาติพบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพในระดับดีมาก (ร้อยละ 45.08) รองลงมา คือระดับพอใช้
(ร้อยละ 36.72) มีเพียงส่วนน้อยที่มีพฤติกรรมสุขภาพในระดับไม่ดี (ร้อยละ 18.20) ในปี 2560 ศูนย์อนามัยที่ 3 ลง
สารวจพฤติกรรมพึงประสงค์ของเด็กวัยเรียนเขตสุขภาพที่ 3 พบว่า เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมพึงประสงค์ ด้าน
โภชนาการเหมาะสม ร้อยละ 13.9 ด้านออกกาลังกายเหมาะสม เพียงร้อยละ 6.1 และด้านการนอนหลับเหมาะสม
ร้อยละ 71.8 จากผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ
และพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน หากเด็กวัยเรียนวัยรุ่น
ส่วนใหญ่ของประเทศมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่า ย่อมจะส่งผลต่อสภาวะสุขภาพในภาพรวมของประเทศ
จากสถานการณ์ปัญหา ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดโรคที่มีมากในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่แนวโน้ม
สูงขึ้นเรื่อยๆ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ จาเป็นอย่างยิ่งในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้เด็กวัยเรียน มี
พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง โดยการส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวบุคคล (ปัจจัยนา )
เช่น ความรู้ การรับรู้ ความเข้าใจ และปัจจัยแวดล้อม (ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม) อย่างเหมาะสม ในการพัฒนาปัจจัย
ภายในจะต้องปลูกฝังให้เด็กเกิด “Health Literacy”หรือ”ความรอบรู้ด้านสุขภ าพ” ซึ่งหมายถึง ความสามารถและ
ทักษะในการเข้าถึง ข้อมูลด้านสุขภาพ ความรู้ ความเข้าใจเพื่อวิเคราะห์ ประเมินและจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถ
ชี้แนะเรื่อง สุขภาพแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชนได้
การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพหรือการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ให้แก่เด็กวัยเรียน เป็น
เป้าหมายสาคัญของการพัฒนา จาเป็นต้องมีวิธีการหรือรูปแบบความเชื่อมโยงของพฤติกรรมต่างๆในชีวิตปะจาวัน
และปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ การดูแลสุขภาพ ในชีวิตประจาวันของตนเอง กลุ่มพัฒนาการ
ส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น จึงจัดทา กิจกรรมในการพัฒนารูปแบบ การดาเนินงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ เขต
สุขภาพที่ 3 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่น ทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนให้มี
สุขภาพที่ดีขึ้น และเป็นกุญแจสู่ความสาเร็จของแผนสุขภาพระดับเขตสุขภาพ ซี่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุก
ภาคส่วนในการขับเคลื่อนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างองค์กรรอบรู้ สู่สังคมรอบรู้สุขภาพ
km-วัยรุ่น62.pdf |
ขนาดไฟล์ 3MB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |