คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาหุ่นเต้านมจำลองเพื่อใช้ในการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.11.2567
0
0
แชร์
26
พฤศจิกายน
2567

เรื่อง การพัฒนาหุ่นเต้านมจำลองเพื่อใช้ในการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

การบ่งชี้ความรู้
มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสุขภาพที่สาคัญของสตรีในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดย World Cancer Report 2014 ได้รายงานว่าในปี ค.ศ. 2012 ทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ร้อยละ 16.7 ของมะเร็งทั้งหมด สาหรับประเทศไทยมะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับหนึ่งของสตรีและเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีงบประมาณ 2561 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 28,027 คน (HDC : 10 มะเร็งตุลาคม 2561) และที่สาคัญพบว่าสตรีไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องมะเร็งเต้านม และวิธีการตรวจเต้านมที่ถูกต้อง จากการดาเนินงานโครงการตามพระราชดาริด้านสาธารณสุข สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่าต้านภัยมะเร็งเต้านม 5 ปี (พ.ศ. 2555 – 2560) พบว่า สตรีไทยตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องสม่าเสมอ (อย่างน้อยทุก 2 เดือน) เฉลี่ย 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 70.8 โดยพบก้อนมะเร็งขนาดเล็ก (ไม่เกิน 2 ซม.) ร้อยละ 43.7 เป็นมะเร็งระยะแรก (ระยะไม่เกิน 0,1,2) ร้อยละ 69.9 ซึ่งอัตราการรอดชีวิตของกลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่าเสมอสูงถึงร้อยละ 95.5 เนื่องจากสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรก และข้อมูลจาก Health Data Center ปี 2559 – 2561 (HDC : 10 ตุลาคม 2561) พบสตรีไทยอายุ 30 – 77 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 52.12 ,66.06 และ 72.89 ตามลาดับ แต่พบว่ามีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพียงร้อยละ 7.42 , 40.74 และ 59 ตามลาดับ และเขตสุขภาพที่ 3 ปี 2559 – 2561 พบว่าสตรีไทยอายุ 30 – 77 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 73.40 , 83.13 และ 83.20 และมีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 7.4 , 60.82 และ 73.77 ตามลาดับ จะเห็นว่าอัตราการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยตนเอง (breast self examination) เป็นวิธีการที่เหมาะสมสาหรับการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะแรก เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่ายและประหยัด อย่างไรก็ตามการเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก้อนที่เกิดขึ้นอาจมีขนาดเล็ก ตลอดจนความลึก รูปร่างลักษณะและขอบเขตที่แตกต่างกัน ทาให้ผู้คลาไม่สามารถแยกความผิดปกติขนาดเล็กออกจากเนื้อเยื่อปกติได้ซึ่งอาจทาให้ผู้คลาขาดความมั่นใจที่จะตัดสินใจว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงในเต้านมหรือไม่ นอกจากนี้การมีทักษะและความชานาญยังเป็นอีกปัจจัยสาคัญในการตรวจหาก้อนด้วยวิธีการคลาด้วยตัวเอง ที่ผ่านมาบุคลากรทางแพทย์มีการผลิตสื่อเพื่อนามาใช้ในสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมหลายรูปแบบ เนื่องจากสื่อโมเดลเต้านมทางการแพทย์มีราคาสูง ตั้งแต่ราคา 3,490 – 40,000 บาท จึงไม่สามารถจัดสรรให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยจากการสารวจไม่มีสื่อโมเดลเต้านมจาลองเพื่อใช้ในการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเหตุนี้กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทางานจึงเกิดแนวคิดที่ผลิตสื่อเต้านมจาลอง.เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสอนให้สตรีไทยรู้วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างถูกวิธี ในราคาถูก (ไม่เกิน 300 บาทต่อชิ้น) นาไปสู่การลดจานวนการเกิดโรคมะเร็งเต้านมหรือสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การสร้างและแสวงหาความรู้
กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทางาน รับผิดชอบโครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่าต้านภัยมะเร็งเต้านม เพื่อส่งเสริมให้สตรีไทยมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องสม่าเสมอ และสามารถตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ในระยะเริ่มแรก ซึ่งการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เป็นวิธีหนึ่งในการค้นหาโรคในระยะแรก (Early Detection and Diagnosis) ซึ่งการตรวจเต้านมด้วยตนเองนั้นไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใด หากพบความผิดปกตินาไปสู่การรักษาโรคมะเร็งได้อย่างรวดเร็ว
จากการศึกษาทบทวนการพัฒนาและงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับการดาเนินงานเฝ้าระวังการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง พบมี การพัฒนาหุ่นเต้านมจาลองเพื่อใช้ในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองหลากหลายรูปแบบ ชมพูนุช โสภาจารีย์ และคณะ (2548) การพัฒนาหุ่นเต้านมจาลองเพื่อใช้ในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง (ระยะที่ 2 และ 3) พบว่า สตรีกลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มขึ้น ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มสูงกว่ากลุ่มทดลอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้หุ่นเต้านมจาลองที่มีความเสมือนจริงในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรี และชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการนาไปใช้ในทางปฏิบัติการด้านสุขภาพ การวิจัยและในเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมสุขภาพสตรี
ศศิธร เตชะมวลไววิทย์ พย.มและคณะ (2559) ผลของการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยแกนนาสตรีชุมชนต่อความรู้และ การปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี: กรณีศึกษาชุมชนริมคลองสามเสน ผลการวิจัย พบว่า คะแนนมัธยฐานความรู้และการปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังได้รับการพัฒนา ศักยภาพทั้งของแกนนาสตรีชุมชนริมคลองสามเสนและของสตรีในชุมชน สูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาศักยภาพ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p < .05) แกนนาสตรีและสตรีในชุมชนส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจระดับดีมาก คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา (2546) การค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น : ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการปฏิบัติ ของพยาบาลอายุ 35 ปีขึ้นปี พบว่าพฤติกรรมการตรวจเต้านมทั้ง 3 อย่าง ได้แก่ BSE, mammogram และ CBE ของพยาบาลอายุ 35 ปีขึ้นไป อยู่ในระดับต่ากว่าเกณฑ์แนะนากาหนดโดยสมาคมโรคมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม (r= 0.143 p<.0.05) การรับรู้ประโยชน์ (r=0.156 p<0.01) และการรับรู้อุปสรรคในการตรวจ BSE (r=0.224 p<0.001) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญกับการตรวจ BSE ของพยาบาล การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญกับการตรวจ CBE (r= 0.222 p< 0.001) การตรวจแมนโมแกรม ของพยาบาล ( r=0.127 p<0.05) อายุของพยาบาลมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญกับการตรวจเต้านมทั้ง 3 อย่าง ประวัติมีก้อน/ความผิดปกติที่เต้านมเป็นปัจจัยสาคัญในการทานายพฤติกรรมการตรวจ CBE ของพยาบาลอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 30.4 (R =0.304, p<0.001 )
ธัญรัตน์ ชูศิลป์และคณะ (2560) การพัฒนาหุ่นเต้านมจาลองสาหรับฝึกปฏิบัติทางคลินิกในการตรวจเอกซเรย์เต้านม พบว่า หุ่นเต้านมจาลองที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้ฝึกปฏิบัติในการตรวจเอกซเรย์เต้านมได้ โดยทัศนคติของผู้ใช้งานต่อหุ่นเต้านมจาลองอยู่ในเกณฑ์ดี
ข้อมูลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ที่เคยปฏิบัติงานคัดกรองมะเร็งเต้านม จากการสอบถามผู้รับผิดชอบงานคัดกรองมะเร็งเต้านมในเขตสุขภาพที่ 3 ประกอบกับการลงพื้นที่หน่วยแพทย์บูรณาการ พบว่าสื่อโมเดลเต้านมจาลองเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสอนให้สตรีไทยรู้วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมยังมีการจัดสรรไม่ทั่วถึง เนื่องจากสื่อโมเดลเต้านมจาลองที่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์มีราคาสูง ด้วยเหตุนี้ กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทางานจึงเกิดแนวคิดที่ผลิตสื่อเต้านมจาลอง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสอนให้สตรีไทยรู้วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างถูกวิธี ในราคาถูก (ไม่เกิน 300 บาทต่อชิ้น) นาไปสู่
การลดจานวนการเกิดโรคมะเร็งเต้านมหรือสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้สตรีไทยมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
2. ผลิตสื่อโมเดลเต้านมจาลองเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสอนให้สตรีไทยรู้วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างถูกวิธี ในราคาถูก
3. เผยแพร่สื่อโมเดลเต้านมแก่บุคลากรทางแพทย์ อสม.หรือแกนนาสตรีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกปฏิบัติและสอบทานขั้นตอนการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
4. เพื่อประเมินระดับทัศนคติของผู้ใช้งานหุ่นเต้านมจาลองจาแนกตามบุคลากรทางการแพทย์ อสม. และสตรีไทยที่รับคาแนะนาวิธีคัดกรองมะเร็งเต้านม

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

km-วัยทำงาน62.pdf
ขนาดไฟล์ 2MB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน