คุณกำลังมองหาอะไร?

อบรู้ เท่าทัน เรื่องฟัน ฉัน OK

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.11.2567
0
0
แชร์
26
พฤศจิกายน
2567

เรื่อง รอบรู้ เท่าทัน เรื่องฟัน ฉัน OK
จัดทำโดย กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
การบ่งชี้ความรู้
การมีสุขภาพช่องปากที่ดีเป็นสิ่งสาคัญของประชาชนวัยทางาน เนื่องจากต้องพูดคุยสื่อสารมีผลต่อสุขภาพแบบองค์รวม อีกทั้งเป็นรอยต่อของช่วงวัย ที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต หากวัยทางานมีสุขภาพช่องปากที่ดี ย่อมส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดีตามไปด้วย การมีความรอบรู้เรื่องสุขภาพช่องปากในวัยทางานจะเป็นตัวช่วยที่จะทาให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว จากข้อมูลการสารวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ในกลุ่มวัยทางานอายุ 35-44 ปี ร้อยละ 51.0 เกิดร่วมกับหินน้าลาย ส่วนโรคปริทันต์อักเสบที่มีทาลายอวัยวะปริทันต์เกิดเป็นร่องลึกปริทันต์พบร้อยละ 25.9 ที่พบเกิดจากรอยโรคสะสม ปัญหาปริทันต์อักเสบที่มีการทาลายของกระดูกรองรับรากฟันร่วมด้วย ซึ่งพบร้อยละ 15.6 และปัญหาโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 35.2 โดยปัญหาดังกล่าว จะแสดงอาการที่รุนแรงจนเกิดความเจ็บปวดและการสูญเสียฟันในช่วงอายุต่อไป ถ้าไม่ได้รับการดูแล ป้องกัน รักษาที่เหมาะสมทันเวลา ส่วนการรับรู้ และการรับบริการสุขภาพช่องปากของวัยทางาน เหตุผลที่คนวัยทางานไม่ไปหาหมอฟันเนื่องจากไม่คิดว่าตัวเองมีความผิดปกติ และไม่มีเวลาร้อยละ 68.6 และ 25.7 ตามลาดับ (กรมอนามัย, 2560) จากข้อมูลดังกล่าวทาให้เห็นว่ากลุ่มวัยทางานยังไม่เห็นความสาคัญ(GAP 0.3)ของการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยคิดว่าตนเองยังไม่มีความผิดปกติ ทั้งที่กลุ่มวัยทางานเดิมเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากได้ง่าย เช่น การสูบบุหรี่ ความเครียด ปัญหาโรคทางระบบ (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ฯ) ปัจจัยต่างๆเหล่านี้อาจทาให้เกิดโรคในช่องปาก ทั้งโรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ ได้ง่าย หากแต่กลุ่มวัยทางานยังมีความเข้าใจว่าตนเองไม่มีความผิดปกติของสุขภาพช่องปาก เลยทาให้เกิดรอยโรคสะสม ส่งผลให้เกิดการสูญเสียฟัน


เมื่อมาดูสถานการณ์ภาวะทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่3(ข้อมูล survey เขต3, 2561) พบว่าตัวชี้วัด มีฟันแท้ใช้งานได้ 20 ซี่ (เป้าหมาย ร้อยละ 50) ปี 2559 2560 และ2561 อยู่ที่ร้อยละ 39.22 , 38.12และ39.39 ตามลาดับ ซึ่งยังถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์(GAP) อีกทั้งแผนพัฒนาทันตสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในช่องปาก (service plan)สาขาสุขภาพช่องปาก ปีงบประมาณ 2562 กาหนดการจัดบริการสุขภาพช่องปากที่มีคุณภาพ องค์ประกอบที่ 2ระบุให้สถานบริการสุขภาพและจังหวัด ร่วมกันกาหนดโครงการสาหรับกลุ่มวัยทางาน เพื่อให้มีผลต่อเป้าหมาย 20 ปี เรื่องผู้สูงอายุมีฟันใช้งานไม่น้อยกว่า 24 ซี่(สอดคล้องกับนโยบายฯเพื่อให้ลด GAP)
จากการวิเคราะห์ความต้องการการดูแลสุขภาพช่องปากของวัยทางาน (ช่วงอายุ 15-60ปี) ที่มารับบริการทันตกรรมในคลินิก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ สุ่มเก็บข้อมูลจากผู้มารับบริการจานวน 30 คน โดยใช้หลัก ask me 3 ของความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า จานวน 22 คน มาพบทันตแพทย์ ด้วยมีการของโรคในช่องปาก อีก จานวน 8 คน มาเพื่อให้หมอตรวจฟันทุก 6 เดือน ยังไม่แน่ใจว่าตนเองมีปัญหาว่ามีโรคในช่องปากหรือไม่ / จานวน30คนทราบว่าตนเองมารับการรักษา
จากทันตแพทย์ ปัญหาที่พบคือโรคฟันผุจานวน 19 คน(ร้อยละ 63.3 ) เหงือกอักเสบ จานวน 24 คน(ร้อยละ80)
จานวน 30 คนได้รับการรักษา และทราบว่าหากไม่รักษาจะเกิดผลเสียกับสุขภาพช่องปาก จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ผู้มารับบริการมีความต้องการในการรักษาสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ ต้องการได้รับการการรักษาและการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องทุกคน
กลุ่มงานทันตสาธารณสุข เห็นความสาคัญของการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะวัยทางานซึ่งเป็นกลุ่มที่มีหน่วยงานรับผิดชอบการให้บริการทางระบบสุขภาพยังไม่ชัดเจน ทาให้การเข้าถึงบริการทาง ทันตกรรมยังไม่ดีพอ อีกทั้งสถานการณ์ภาวะทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 3 ตัวชี้วัดทางทันตสุขภาพยังไม่ผ่านเกณฑ์ด้วย ดังนั้นหากต้องการให้สอดคล้องกับแผนทันตสุขภาพในระยะยาวของกระทรวงสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มวัยทางานจึงเป็นสิ่งสาคัญ กลุ่มงานทันตสาธารณสุขจึงจัดบริการทางทันตสุขภาพในประชาชนวัยทางาน โดยออกแบบรูปแบบการให้บริการซึ่งมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความรอบรู้ทางทันตสุขภาพ ดูแลและจัดการ บอกต่อการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องในวัยทางาน ส่งผลสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไปในช่วงวัยผู้สูงอายุ หากรูปแบบการดาเนินงานนี้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ย่อมสามารถขยายกิจกรรมดังกล่าวไปยังสถานบริการทางสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 3 ประชาชนวัยทางานในเขตบริการย่อมสุขภาพช่องปากดีถ้วนหน้า
การสร้างและแสวงหาความรู้
เจ้าหน้าที่กลุ่มงานทันตสาธารณสุข ร่วมกัน ศึกษา ค้นหาข้อมูลเกี่ยวความรอบรู้ทางสุขภาพ ความรู้ทางทันตสุขภาพ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ (วธิดา รัตนวิไลศักดิ์.2554)พบว่าปัจจัยนาเข้าเกี่ยวกับความเชื่อด้านสุขภาพ คือ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคและความเชี่อมั่นต่อตนเองในการไปใช้บริการทันตกรรม ส่วนปัจจัยสนับสนุน คือ ความสามารถในการจ่ายด้านบริการสุขภาพและความสามารถไปใช้บริการทันตกรรมด้วยตนเอง ดังนั้นหากรู้ว่าประโยชน์ของการดูแลตนเองส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ปฏิบัติตนเองแล้ว เกิดสุขภาพดี ย่อมส่งผลให้ผู้รับบริการดูแลตนเองได้ อีกทั้งความสามารถในการจ่ายค่าบริการเป็นปัจจัยสนับสนุนที่เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทาให้เข้าถึงบริการทันตกรรมมากขึ้น
2.ผลของนวัตกรรมการให้ข้อมูลร่วมกับเกมสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่น โรค
เอส แอล อี ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล.(รัชนีและคณะ.2555) พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01พบว่า การได้รับรู้ข้อมูลทางสุขภาพมีผลต่อพฤติกรรมทางสุขภาพ ดังนั้น ช่องทางของการได้รับความรู้ ความน่าสนใจของสื่อ ความเป็นสิ่งใหม่ของการถ่ายทอดของสื่อ ส่งผลให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึง ช่วยให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถตัดสินใจปฏิบัติแล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีทิศทางทางสุขภาพที่ดีได้
3.ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดอ่างทอง(ธัญชนก ขุมทองและคณะ.2559) พบว่าความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ (Health Literacy) เป็นความสามารถและทักษะในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ อันจะนาไปสู่การสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถนาไปจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเองได้ ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ คือ
1.แรงจูงใจในตัวบุคคล (การรับรู้อาการเตือน/ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง)
2. การให้บริการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่สาธาณสุข (การคัดกรองสุขภาพที่มีความครอบคลุมและมีความยืดหยุ่น/ช่องทางการใช้สื่อหลายรูปแบบ/การให้บริการทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง)
3. ครอบครัว ญาติ และเพื่อน(สนับสนุนให้มีสุขภาพดี/สร้างแรงจูงใจทางสุขภาพได้)
ดังนั้นการที่ประชาชนจะมีความรอบรู้ทางสุขภาพได้ หากเกิดจากการรับรู้อาการเตือนจากสุขภาพของตนเอง หรือเกิดความผิดปกติกับร่างกายทาให้รู้สึกอยากดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น การให้บริการทางสุขภาพเชิงรุก หรือบริการทางสุขภาพที่เป็นที่พึ่งของประชาชน จะทาให้ประชาชนหันมาค้นหาข้อมูลทางสุขภาพกับระบบบริการมากขึ้น และที่สาคัญกาลังใจจากครอบครัวย่อมส่งผลให้เกิดการดูแลสุขภาพที่ดีได้
4.อิทธิพลของความแตกฉานด้านสุขภาพการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ(หทัยกานต์ ห้องกระจก.2559) พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน สามารถทานายพฤติกรรมการดูแลตนเอง ปฏิบัติกับตนเอง สามารถดูแลตนเองได้สาเร็จ ดังนั้นหากประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ย่อมทาให้มีความมั่นใจมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยบนพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีได้เป็นอย่างดี
5.การดูแลสุขภาพช่องปากแม่และเด็กปฐมวัย สาหรับcluster แม่และเด็กปฐมวัย, สานักทันตสาธารณสุข .2560) พบว่า ปัจจัยที่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนปฐมวัยคือ
1.พฤติกรรมการแปรงฟัน
2.การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโทษต่อฟัน
3.การกินนมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ เช่นกินนมขวดคาปาก/นมหวาน
4.การรับรู้ถึงความสาคัญของฟันน้านมของผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก
ดังนั้นสุขภาพในช่องปากจะดีขึ้นได้จาเป็นต้องมีพฤติกรรมการแปรงฟันที่สะอาด ถูกวิธี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพฟัน กรณีในเด็กเล็กการกินนมที่ถูกวิธี ย่อมมีผลช่วยลดโอกาสการเกิดโรฟันผุในเด็กเล็กได้ และที่สาคัญการรู้ว่าประโยชน์ของการมีสุขภาพฟันดีย่อมส่งผลให้สุขภาพแบบองค์รวมดีตามมาด้วย

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

km-ทันตกรรม62.pdf
ขนาดไฟล์ 802KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน