กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
เรื่อง รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องการกินยาเม็ดบารุงเลือดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
ผู้จัดทำ งานฝากครรภ์-คลินิกนมแม่
การบ่งชี้ความรู้
การกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดสม่่าเสมอทุกวันของหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์หนึ่งของโภชนาการที่ดีตามแนวทางการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิตคือ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมอง ท่าให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจ่า อีกทั้งยังเป็นช่วงการสร้างอวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรค ระบบเผาผลาญทางด้านอาหารของร่างกายให้สมบูรณ์1 เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตามเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ที่ว่า “ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน”
จากการเก็บข้อมูลการกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2561 พบว่า หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดสม่่าเสมอทุกวันต่่ากว่าเกณฑ์ร้อยละ 76.6 และ 44.2 ตามล่าดับ ทีมฝากครรภ์-คลินิกนมแม่ได้ร่วมกันทบทวนสาเหตุพบว่าหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรส่วนใหญ่ลืมกินยาร้อยละ 56.2 และ 40.6 ตามล่าดับ หากหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้กินยาเม็ดบ่ารุงเลือดสม่่าเสมอทุกวันจะเกิดผลกระทบต่อมารดาและลูกได้ เช่น มารดามีภาวะซีด ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย คลอดก่อนก่าหนด ตกเลือดหลังคลอด ส่วนลูกแรกเกิดน้่าหนักตัวน้อย ซีด พิการ หรือเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ได้ ส่วนหญิงที่ให้นมบุตรอาจมีปัญหาขาดธาตุเหล็ก คือ ซีด มีอาการอ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า และปริมาณน้่านมแม่จะลดลง จึงจ่าเป็นต้องส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับบุคคล ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อเพื่อเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง จากการสอบถามความต้องการสื่อให้ความรู้ของผู้รับบริการ ผู้รับบริการส่วนใหญ่ต้องการสื่อรูปภาพ infographic ข้อความสั้นๆ ร้อยละ 43.4 แผ่นพับความรู้ ร้อยละ 35.8 ภาพพลิก บอร์ด ร้อยละ 9.4 วิดีโอสั้นๆ ร้อยละ 77.4 แนะน่าตัวต่อตัว ร้อยละ 37.7 และให้ความรู้แบบกลุ่ม ร้อยละ 32.1
งานฝากครรภ์-คลินิกนมแม่ เป็นหนึ่งหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัยสร้างคนไทย 4.0 เริ่มตั้งแต่ 1,000 วันแรกของชีวิต และเห็นความส่าคัญของการกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดที่มีผลต่อมารดาและทารก จึงร่วมกันจัดท่ารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องการกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรเพื่อออกแบบรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องการกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรที่มารับบริการที่ศูนย์อนามัยที่ 3
การสร้างและแสวงหาความรู้
งานฝากครรภ์-คลินิกนมแม่ ได้ร่วมกันทบทวนความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรจากหนังสือคู่มือ บทความวารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ เว็บไซด์ต่างๆ และข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการให้บริการการส่งเสริมการกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและประสบการณ์การกินยาเม็ดบ่ารุงเลือดในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดจากเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์-คลินิกนมแม่ สรุปเนื้อหาได้ดังนี้
หญิงตั้งครรภ์ คือ สตรีที่ก่อก่าเนิดทารกในร่างกายหลังจากปฏิสนธิระหว่างอสุจิกับไข่ กลายเป็นตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นทารกจนกระทั่งออกจากครรภ์9
หญิงให้นมบุตร คือ สตรีที่คลอดทารกและให้ทารกกินน้่านมของตนเอง
ปริมาณธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับ ผู้หญิงมีโอกาสในการสูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชาย ทั้งจากการมีประจ่าเดือน เฉลี่ยแล้วต่อเดือนผู้หญิงจะเสียเลือดส่วนนี้ไปประมาณ 50 มิลลิลิตร หรือเท่ากับการสูญเสียธาตุเหล็กไปประมาณ 15-30 มิลลิกรัมต่อเดือน6 ปริมาณธาตุเหล็กที่ต้องสูญเสียไปในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรประมาณ 1,000 มิลลิกรัม7 ส่าหรับผู้หญิงในวัย 15-50 ปี ควรได้รับธาตุเหล็กประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากมีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรรับธาตุเหล็กให้ได้วันละ 10 มิลลิกรัม6 หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นจากปกติ 1.5-2 เท่า8 หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจึงได้รับยาธาตุเหล็ก ส่วนหญิงหลังคลอดเสียเลือดจากการคลอดบุตรจึงควรกินยาธาตุเหล็กต่อเนื่องอีก 6 เดือน หากให้นมลูกหรือไม่ได้ให้นมลูกแต่มีปัญหาเสียเลือดเรื้อรังจากประจ่าเดือนมามากผิดปกติก็ควรกินยาธาตุเหล็กต่อเนื่องจนกว่าจะเลิกให้นมลูกหรือจนกว่าภาวะการเสียเลือดจะได้รับการแก้ไข8
อาการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกหมดแรง ลิ้นอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ ลิ้นบวม ตุ่มบริเวณลิ้นหายไป อาจท่าให้เคี้ยวอาหารล่าบาก พูดไม่ชัดประสิทธิภาพของสมองลดลง เหม่อลอยบ่อยขึ้น ตัวซีด เปลือกตาด้านในซีด ริมฝีปากแห้งแตก ติดเชื้อง่าย มีอาการชาต้องสั่นเขย่าขาตลอดเวลา(Ressless Leg Syndrome)6 ในหญิงตั้งครรภ์จะเกิดผลกระทบต่อมารดาและลูกได้ เช่น มารดามีภาวะซีด ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย คลอดก่อนก่าหนด ตกเลือดหลังคลอด ส่วนลูกแรกเกิดน้่าหนักตัวน้อย ซีด พิการ หรือเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ได้ ส่วนหญิงที่ให้นมบุตรอาจมีปัญหาขาดธาตุเหล็ก ซึมเศร้า และปริมาณน้่านมแม่จะลดลง8
การลดความเสี่ยงของปัญหาการขาดธาตุเหล็ก โดยการส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอจากการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ตับ เลือด เนื้อสัตว์ เนื้อแดงต่างๆ เครื่องในสัตว์ เป็นต้น และเสริมด้วยวิตามินเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้งในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หากหญิงวัยเจริญพันธุ์มีการตั้งครรภ์ในอนาคตจะน่าไปสู่การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ความเสี่ยงของทารกพิการแต่ก่าเนิดลดลง2 แม่คลอดอย่างปลอดภัยและลูกแข็งแรง และเสริมด้วยวิตามินเสริมธาตุเหล็กทุกวันในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
ทฤษฎีการดูแลตัวเองของโอเร็ม อธิบายไว้ว่า “การดูแลตนเองเป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระท่าเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในการด่ารงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความเป็นอยู่อันดี” การดูแลตนเองเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระท่าอย่างจงใจและมีเป้าหมาย เกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการประกอบด้วย 2 ระยะสัมพันธ์คือ ระยะที่1 ระยะของการประเมินและตัดสินใจ บุคคลจะหาความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์?เกิดขึ้นและสะท้อนความคิดความเข้าใจ พิจารณาว่าสถานการณ์นั้นจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ อย่างไร ทางเลือกอะไรบ้าง ผลลัพธ์แต่ละทางเลือกเป็นอย่างไรและตัดสินใจกระท่า ระยะที่2 ระยะของการกระท่าและประเมินผล ระยะนี้จะมีการแสวงหาเป้าหมายของการกระท่า ก่าหนดทางเลือกกิจกรรมที่ต้องกระท่าและเกณฑ์ที่ใช้ติดตามผลของการปฏิบัติ การดูแลตนเองที่จ่าเป็นมี 3 อย่าง คือ 1. การดูแลตนเองที่จ่าเป็นโดยทั่วไป เป็นการดูแลตนเองที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและสวัสดิภาพของบุคคล 2.การดูแลตนเองตามระยะพัฒนาการ เป็นการดูแลตนเองที่เกิดขึ้นจากกระบวนการพัฒนาการของชีวิตมนุษย์ในระยะต่างๆ เช่น การตั้งครรภ์ การคลอด การเจริญเติบโตเข้าสู่วัยต่างๆของชีวิต และเหตุการณ์ที่เป็นผลเสียหรืออุปสรรคต่อพัฒนาการ เช่น การสูญเสียคู่ชีวิตหรือบิดามารดา 3.การดูแลตนเองที่จ่าเป็นในภาวะเบี่ยงเบนทางด้านสุขภาพ เป็นการดูแลตนเองที่เกิดขึ้นเนื่องจากพิการแต่ก่าเนิด โครงสร้างหน้าที่ของร่างกายผิดปกติ5
พฤติกรรมการดูแลตนเองที่จ่าเป็นตามระยะพัฒนาการ การตั้งครรภ์เป็นขั้นตอนหนึ่งของชีวิตที่ท่าให้สตรีมีพัฒนาการเข้าสู่วุฒิภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ โดยมีการปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา การที่จะมีพัฒนาการไปสู่การเป็นมารดาได้อย่างสมบูรณ์นั้นหญิงตั้งครรภ์ต้องท่าภารกิจไปตามขั้นตอนหรือที่เรียกว่าพัฒนกิจของการตั้งครรภ์ จะท่าให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใจในตนเอง สามารถเป็นที่พึ่งพาและให้การเลี้ยงดูที่ดีแก่บุตรได้5
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ หมายถึง ความรู้ แรงจูงใจ และความสามารถของประชาชนในการเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และประยุกต์ข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ เพื่อพิจารณาและตัดสินใจในชีวิตประจ่าวันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมและป้องกันโรคให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดช่วงอายุ3 องค์ประกอบหลักของความรอบรู้ด้านสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ก่าหนดเป็น 6 ระดับพฤติกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพของพลเมือง 4.0 (Smart Thai People 4.0) ได้แก่ เข้าถึง เข้าใจ ซักถาม ประเมิน ตัดสินใจ รับปรับใช้ และบอกต่อ10
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 1. ปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ ความรู้ ประกอบด้วย ความรู้ทั่วไป เช่น การอ่านตัวเลข ความสามารถในการวิเคราะห์ การรู้เท่าทันเรื่องอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วัฒนธรรม สื่อ สิทธิ และความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเอง คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษา เพศ อายุ อาชีพ รายได้ วัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อและ ทัศนคติ พฤติกรรมความเสี่ยงทางสุขภาพ ทักษะและความสามารถส่วนบุคคล ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน ความสามารถในการพูด ทักษะในการต่อรอง ทักษะในการจัดการตนเอง ความสามารถในการ ประเมินสื่อทางสุขภาพ ความสามารถในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ ความสามารถในการสืบค้นข้อมูลสุขภาพ รูปแบบการใช้ชีวิต การจัดการสุขภาพและความเจ็บป่วย ระดับความเครียด ภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย การปฏิบัติตาม ค่าสั่งแพทย์ การตรวจสุขภาพเป็นประจ่า ความร่วมมือในการใช้ยาตามค่าสั่งแพทย์ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การบริโภค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การดูแลสุขภาพตนเอง 2. ปัจจัยระดับปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล ได้แก่ ทักษะส่วนบุคคล ประกอบด้วย ทักษะทางปัญญา ความสามารถในการวิเคราะห์ สถานการณ์ ทักษะการสื่อสารและทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทักษะทางสังคมและทักษะการพิทักษ์ สิทธิ์ตนเอง สิ่งแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการ และ 3. ปัจจัยระดับสังคม ได้แก่ การจัดระเบียบชุมชน ความเท่าเทียมทางสังคม สุขภาพ และโครงสร้างทางการเมือง การพัฒนา ความรู้ องค์กร และนโยบาย การเข้าถึงและใช้บริการทางสุขภาพ การมีส่วนร่วม มาตรการทาง สังคมเพื่อสุขภาพ ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ3
แนวทางการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพสู่การปฏิบัติการพยาบาล ของนาวาโทหญิง ดร.พว.วัชราพร เชยสุวรรณ มีดังนี้
1. การสื่อสารทางวาจา ควรใช้การสื่อสารแบบสองทาง โดยใช้ค่า พูดที่เรียบง่าย หลีกเลี่ยง การใช้ศัพท์เทคนิคและศัพท์ทางการแพทย์ หากจ่า เป็นต้องใช้ควรอธิบายให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน พูดอย่างชัดเจน ใช้จังหวะความเร็วปานกลาง มีการตรวจสอบความเข้าใจของผู้รับบริการโดยใช้เทคนิคการสอนกลับ (Teach-back) โดยให้ผู้รับบริการอธิบายสิ่งที่ได้รับค่าแนะน่า ด้วยค่า พูดของผู้รับบริการ ตั้งค่าถามเป็นปลายเปิด
2. การสื่อสารด้วยการเขียน โดยใช้ประโยคสั้นๆ และเขียนด้วยรูปประโยคอย่างง่าย หลีกเลี่ยง การใช้ค่า ศัพท์เฉพาะ (Jargons) แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ และก่าหนดหัวเรื่องให้ชัดเจน เสนอเนื้อหา ตามล่าดับโดยการใช้ตัวเลขหรือเครื่องหมายต่างๆ วางหน้าข้อความเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น ขีดเส้นหรือวงกลม ข้อความที่
ส่าคัญ และในแบบฟอร์มควรใช้แบบตรวจสอบรายการ (Check boxes) มากกว่าที่จะให้ผู้รับบริการเขียนรายละเอียดหรือค่าตอบมีตัวเลือก “ไม่ทราบ” และใช้ตัวหนาส่าหรับข้อความส่าคัญ
3. การใช้สื่อช่วยสอน โดยการใช้รูปภาพ โมเดล วีดีทัศน์ การ์ตูน สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ หลีกเลี่ยงรายละเอียดที่ไม่จ่าเป็น ไม่ใช้สื่อสิ่งพิมพ์แทนการให้ค่าแนะน่าโดยบุคคลแต่ควรใช้ข้อมูลจากสื่อช่วยสอนเพื่อเป็นสื่อในการอธิบายด้วยวาจาทบทวนและเน้นประเด็นส่าคัญ
4. การเสริมสร้างพลังอ่านาจและการจัดการตนเองของผู้รับบริการ โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ยกตัวอย่างเรื่องของค่าถาม ควรใช้ค่าถามปลายเปิด “ท่านมีค่าถามหรือข้อสงสัยอะไรบ้าง” มากกว่าจะถามผู้รับบริการว่า “ท่านมีค่าถามหรือไม่” พยาบาลควรให้ผู้รับบริการทบทวนการรับรู้และการปฏิบัติตัว โดยใช้เทคนิค “Ask Me 3” ได้แก่ 1) ปัญหาสุขภาพของฉันคืออะไร 2) ฉันต้องท่าอะไรบ้าง และ 3) สิ่งที่ต้องท่า นั้นส่าคัญอย่างไร นอกจากนั้นควรประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้รับบริการ โดยใช้เทคนิค “Brown bag” การทวนซ้่าวิธีการใช้ยา “ท่านบอกได้ไหมว่า จะรับประทานยานี้อย่างไร” และการให้ผู้รับบริการน่ายาที่เหลือมาด้วย เมื่อมาพบแพทย์ตามนัด
5. ระบบสนับสนุนและการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พยาบาลเป็นบุคลากร ทางสุขภาพมีบทบาทในการสร้างความรอบรู้ มิใช่ผู้มีหน้าที่สั่งสอน ตัดสินใจแทนผู้อื่น ทักษะที่ส่าคัญใน การสร้างความรอบรู้ คือ ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง เพราะด้วยการฟังที่ลึกซึ้งจะช่วยให้พยาบาลรับรู้ได้ว่าส่วนใด ที่ผู้รับบริการยังขาดความรู้หรือขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งการปรับกลวิธีการสอนสุขศึกษาที่มุ่งเน้น การให้สถานการณ์และแนะแนวในการตัดสินใจ เช่น การสอนการดูแลตนเองในผู้รับบริการเบาหวาน มิใช่เพียงการรู้ว่าอาหารที่ควรรับประทานในผู้รับบริการเบาหวานเป็นอย่างไร แต่ควรเป็นการตัดสินใจเลือก รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานของตนมากกว่า มีการจัดสิ่งแวดล้อมให้ดูผ่อนคลายโดยการเลือกใช้สีและการจัดวางสิ่งของที่ไม่มีบรรยากาศของความน่ากลัว สร้างบรรยากาศที่ผู้รับบริการรู้สึกเป็นมิตรและอยากจะซักถาม การมีป้ายแนะน่าตามจุดต่างๆ ป้ายบอกทางที่เป็นสากลและจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพ