คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนากล่องยาฉุกเฉิน (Emergency Kit 2018)

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.11.2567
13
0
แชร์
26
พฤศจิกายน
2567

เรื่อง การพัฒนากล่องยาฉุกเฉิน (Emergency Kit 2018)
หน่วยงาน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
รายชื่อผู้จัดทำ
1. ภญ. เพียงฤทัย พิพัฒนสิริ เภสัชกรชานาญการ คุณเอื้อ
2. ภญ. จิราพร แก้วดี เภสัชกรปฏิบัติการ Facilitator
3. ภญ. ภัทราวดี อาไพพันธุ์ เภสัชกรปฏิบัติการ Note taker
4. นางสาวธัญญาภรณ์ พวงทอง เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชานาญงาน Note taker
5. นายสุรพงษ์ หงษ์ไทย เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชานาญงาน คุณกิจ
6. นางสาวกนกวรรณ โพธิ์ศรี เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติการ คุณกิจ
7. นางสายพิณ ทับแจง เจ้าหน้าที่ห้องยา คุณกิจ
8. นายสมบูรณ์ เรืองฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ห้องยา คุณกิจ
9. นางอรุณรัตน์ เสาวรส เจ้าหน้าที่ห้องยา คุณกิจ
10. นายธนกร นุชทรัพย์ เจ้าหน้าที่ห้องยา คุณกิจ
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
4.1 เพื่อให้มีแนวทางในการปฏิบัติการเก็บสารองยาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน่วยงาน
4.2 มีรายการยาฉุกเฉินที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอ
4.3 มียาพร้อมใช้ในทุกหน่วยบริการ และสามารถหยิบใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน
4.4 บุคลากรสามารถใช้ยาฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง และผู้ป่วยปลอดภัย
4.5 ป้องกันยาหมดอายุ และลดมูลค่ายาฉุกเฉินหมดอายุ
กระบวนการจัดการความรู้
การบ่งชี้ความรู้ (เหตุผลที่มา และความสาคัญ)
ยาฉุกเฉิน หมายถึง ยาที่มีความจาเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขภาวะความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่าง ทันทีทันใด หรือคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งในภาวะดังกล่าวหากไม่สามารถใช้ยาได้อย่างทันท่วงที อาจทาให้ผู้ป่วยเกิด อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยทั่วไป ภาวะฉุกเฉินอาจหมายรวมถึง ภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) อาการแพ้ยาอย่างรุนแรง (anaphylactic reactions) และอาการชัก (convulsion)
การใช้กล่องยาฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 มีจานวนครั้งการใชงานนอยมาก หรือ อาจไมไดใชเลยในแตละป เนื่องจากผูปวยที่ตองชวยชีวิตฉุกเฉินมีนอย แตก็มีโอกาสเกิดขึ้นได ดังนั้นการเตรียมพรอมของรถชวยชีวิตจึงมีความสาคัญ ในการปฏิบัติการกูชีวิต ใหประสบความสาเร็จ ในทางปฏิบัติจึงจาเป็นต้องมีการสารองยาฉุกเฉิน อีกทั้งยาฉุกเฉินหลายชนิดเป็นยาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาเสี่ยงสูง (High alert drug) หากมีการบริหารยาคลาดเคลื่อนอาจเกิดผลร้ายแรงต่อผู้ป่วยได้ อีกทั้งการบริหารยาโดยใช้ยาจากที่มีการสารองที่หอผู้ป่วย โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบ และไม่มีการสนับสนุนข้อมูลจากเภสัชกรมีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนได้มากกว่า ดังนั้นการใช้ยาฉุกเฉินที่สารองไว้จึงควรใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น รวมถึงผู้ทาการบริหารยาจาเป็นต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับยาที่บริหารเพื่อให้สามารถบริหารยา และติดตามอาการไม่พึงประสงค์ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
การจัดการยาฉุกเฉินเป็นการเตรียมความพรอมในการให้ยาแกผู้ป่วยทันทีเพื่อช่วยชีวิต ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย การจัดการยากลุ่มนี้พิจารณาจากความจาเป็นที่ผู้ป่วยต้องไดรับยาภายในระยะเวลาที่กาหนด และความเสี่ยงต่อการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา โดยเฉพาะยาที่มีความเสี่ยงสูง
สาหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ได้มีการดาเนินการในเรื่องยาฉุกเฉิน และการสารองยาในแต่ละหอผู้ป่วยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยมีการกาหนดรายการยาฉุกเฉิน รายการยาสารองบนหอผู้ป่วย มีรถ emergency สาหรับใส่ยาฉุกเฉิน แต่อย่างไรก็ตามยังพบปัญหากล่องยาฉุกเฉินแต่ละหอผู้ป่วย มีรายการยา และจานวนไม่เหมือนกัน เนื่องจากข้อบ่งใช้ยาฉุกเฉินต่างกัน กล่องยาฉุกเฉินไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายหรือหยิบใช้ยาได้ง่ายนัก และพบการนายาฉุกเฉินในรถ emergency ไปใช้ก่อนในภาวะปกติ ซึ่งมีโอกาสเกิดคลาดเคลื่อนได้ รวมถึงยังพบความไม่พร้อมใช้ของยาฉุกเฉินในรถ emergency เนื่องจากมีการนาออกไปใช้แล้วลืมเบิกคืน การจัดเก็บยาแยกกันทาให้ไม่สะดวกต่อการตรวจสอบ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อยาฉุกเฉินไม่เพียงพอ ไม่พร้อมใช้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาจากการมีภาระงานจากการต้องเช็ควันหมดอายุ ของยาฉุกเฉินทุกเวรของแต่ละหน่วงาน อีกทั้งยังขาดการสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับการนาไปใช้ของยาฉุกเฉิน และยาที่มีการสารองบนหอผู้ป่วย
ดังนั้น ฝ่ายเภสัชกรรมจึงจัดทา Emergency kit ขึ้นเพื่อให้ระบบการสารองยาในรถช่วยชีวิตฉุกเฉิน และการสารองยาบนหอผู้ป่วยมีความเหมาะสม ถูกต้องมากขึ้น โดยยึดความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยเป็นสาคัญ

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

แบบฟอร์ม 2 EmergencyKit.pdf
ขนาดไฟล์ 2MB
ดาวน์โหลด 2 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน