กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
เรื่อง (HLO โอ้ละหนอ ฟ.ฟัน)
จัดทำโดย ทพญ.นราวัลภ์ อัศวรัตน์และคณะ กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
การบ่งชี้ความรู้
ปัญหาทางด้านทันตสาธารณสุข ปัญหาหลักคือโรคฟันผุ ซึ่งพบว่า อัตราการเกิดโรคฟันผุยังสูง ซึ่งจากผลการสารวจล่าสุดในครั้งที่ 7 ปี 2555 พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 51.7 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 78.5 มีประสบการณ์ฟันน้านมผุ ส่วนเด็กวัยเรียน และเยาวชน อายุ 12 ปี และ 15 ปี พบว่าร้อยละ 52.3 มีประสบการณ์การเกิดโรคฟันแท้ผุ โดยปัจจัยมีผลกระทบต่อสภาวะปริทันต์ของเด็ก คือ การแปรงฟัน
จากข้อมูลทันตสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 3 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีประสบการณ์ฟันน้านมผุ ร้อยละ 27.02 เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี มีประสบการณ์ฟันแท้ผุ ร้อยละ 44.40 และผู้มีอายุ 15-59 ได้รับบริการทันตกรรม ร้อยละ 12.99 และผู้สูงอายุได้รับบริการทันตกรรมร้อยละ 41.16 (จากข้อมูล HDC ปี 2560)
ข้อมูลทางทันตสุขในคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี ปี 2560 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีประสบการณ์ฟันน้านมผุ ร้อยละ 63.33 (จากการสุ่มตรวจในคลินิก) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อัตราฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ในคลินิกฯ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสูงเกินกว่า ข้อมูลระดับเขต และระดับประเทศ ซึ่งตัวชี้วัดของเด็กอายุ3ปี กาหนดให้ อัตราฟันน้านมผุไม่เกินร้อยละ 50
ดังนั้นกลุ่มงานทันตสาธารณสุข จึงมีแนวคิดร่วมกันในสร้างความรอบรู้การดูแลทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนในคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดีให้กับผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก เพื่อให้แนวโน้มการเกิดโรคฟันน้านมผุในเด็กอายุ 3 ปีลดลง โดยพัฒนาให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงานให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ความรอบรู้ทางทันตสุขภาพ โดยเน้นให้ผู้ช่วยทันตแพทย์ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถมีความรอบรู้ทางทันตสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากบุตรหลาน มีการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมได้มากขึ้น
การสร้างและแสวงหาความรู้
เจ้าหน้าที่กลุ่มงานทันตสาธารณสุข ร่วมกัน ศึกษา ค้นหาข้อมูลเกี่ยวความรอบรู้ทางสุขภาพ ความรู้ทางทันตนสุขภาพ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากกรกลุ่มเสี่ยงโรคเบหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดอ่างทอง(ธัญชนก ขุมทองและคณะ.2559) พบว่าความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ (Health Literacy) เป็นความสามารถและทักษะในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ อันจะนาไปสู่การสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถนาไปจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเองได้ ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ คือ
1.แรงจูงใจในตัวบุคคล (การรับรู้อาการเตือน/ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง)
2. การให้บริการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่สาธาณสุข (การคัดกรองสุขภาพที่มีความครอบคลุมและมีความยืดหยุ่น/ช่องทางการใช้สื่อหลายรูปแบบ/การให้บริการทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง)
3. ครอบครัว ญาติ และเพื่อน(สนับสนุนให้มีสุขภาพดี/สร้างแรงจูงใจทางสุขภาพได้)
2.อิทธิพลของความแตกฉานด้านสุขภาพการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ(หทัยกานต์ ห้องกระจก.2559) พบว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน สามารถทานายพฤติกรรมการดูแลตนเอง ปฏิบัติกับตนเอง สามารถดูแลตนเองได้สาเร็จ
3.การดูแลสุขภาพช่องปากแม่และเด็กปฐมวัย สาหรับcluster แม่และเด็กปฐมวัย, สานักทันตสาธารณสุข .2560) พบว่า ปัจจัยที่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนปฐมวัยคือ
1.พฤติกรรมการแปรงฟัน
2.การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโทษต่อฟัน
3.การกินนมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ เช่นกินนมขวดคาปาก/นมหวาน
4.การรับรู้ถึงความสาคัญของฟันน้านมของผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก
4.ข้อมูลการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การให้ทันตสุขศึกษา ของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการตรวจสุขภาพฟัน ในคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3
การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ
กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โดยทันตแพทย์ได้มีการทดสอบความรู้ (pre test) ของผู้ช่วยทันตแพทย์ ในความรอบรู้ทางทันตสุขภาพของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัย พบว่า ความรู้ของผู้ช่วยทันตแพทย์ อยู่ที่ร้อยละ 55 ผลการทดสอบความรู้ครั้งนี้ ต้องมีการอบรมเพิ่มพูนให้ความรู้กับผู้ช่วยทันตแพทย์ให้มากขึ้น โดยแทรกอยู่ในวาระการประชุม ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของแต่ละคนภายในกลุ่มงานฯและถอดบทเรียนจนเกิดองค์ความรู้ทางทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน
ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ ปี 61 สรุปผลและการนำไปใช้.pdf |
ขนาดไฟล์ 731KB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |