กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ดูดเต้าสุดชิว
หัวหน้าโครงการ
นางสาวนฤมล ฐาปนะกุล
สมาชิกกลุ่ม
นางปราณี อินทร์น้อย
นางสาวภิติณันท์ สุขแสงดาว
นางละมัย บุญศรี
นางน้ำนอง เงสันเที๊ยะ
นางสุณัฐชา โพธิ์ทอง
การชี้บ่งความรู้ (องค์ประกอบที่1)
เนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่3 นครสวรรค์ เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก จนได้คัดเลือกจากองค์การยูนิเซฟให้เป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูกดีเด่น ในปี พ.ศ. 2535 โดยใช้รูปแบบบันได 10 ขั้น สู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยการเชื่อมโยงแผนกต่างๆ ห้องผ่าตัดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประสบผลสำเร็จ แม้ว่าผู้รับบริการหลังผ่าตัดจะอยู่ในห้องพักฟื้นไม่นาน และเมื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบนำทารกไป BF ในห้องพักฟื้น ก็จะเรียกบิดาของเด็กและ/หรือญาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเลี้ยงดู เข้ามามีส่วนร่วม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการสร้างสายสัมพันธ์ แม่-ลูก ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด
2.เพื่อกระตุ้นให้ลูกได้ดูดนมแม่เร็วที่สุด หลังผ่าตัดคลอด
3.เพื่อให้ผู้รับบริการและครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การแสวงหาความรู้ (องค์ประกอบที่2)
ประชุมและมีการพูดคุยโดยให้แต่ละคนได้เล่าประสบการณ์ของตนเองหรือได้รับความรู้จากการอ่านหนังสือ, Internet, จากคนอื่นบอกมา พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นการแชร์ประสบการณ์ หลังจากนั้นก็นำไปปฏิบัติซึ่งการปฏิบัติครั้งแรกอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติครั้งต่อๆไป และเมื่อมีการปฏิบัติใหม่ ก็ต้องนำมาพูดคุยกันใหม่ จนกว่าจะได้ซึ่งการปฏิบัติที่ได้มาตรฐาน และเป็นแบบอย่างที่ถูกต้อง
ห้องคลอด60.pdf |
ขนาดไฟล์ 119KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |