กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการใช้หมอนหนุนไหล่ทารกให้หลอดลมคอทารกตรงส่งเสริมการหายใจที่มีประสิทธิภาพ ในแผนกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ (หนุนไหล่ให้น้องหายใจสะดวก)
นางนริศา ทิมศิลป์ และคณะ
แผนกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่3นครสวรรค์ ตั้งแต่พ.ศ.2558 ถึงปี2559 ยังไม่มีรูปแบบการนอนหนุนไหล่ของทารกที่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายทารกไม่เพียงพอ สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้เกิดพัฒนาการล่าช้าได้ ทารกคอพับคางชิดอก ทารกดิ้นหลุดจากผ้าที่หนุนไหล่ทารกไว้ร้อยละ70 คอแหงนไปร้อยละ10 คิดเป็นร้อยละ 80 ในบทความของ PANTIP.COM ไม่หนุนหมอนไม่ต้องกลัวไหลตาย ใช้ผ้าขนหนูพับสัก2-3 ทบหนุนบริเวณไหล่ทารกเป็นการให้ทารกนอนหนุนไหล่ที่มีประสิทธิภาพ ความหนาจากที่นอนกับไหล่ทารกหนา 2-3 เซนติเมตร“sniffing position” เป็นการทำให้ทารกมีตำแหน่งของท่อหลอดลมคอตรง ปอดขยายตัวได้ดี เป็นการจัดท่านอนส่งเสริมให้ทารกมีการหายใจที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เดิมการนอนของทารกในแผนกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด เป็นการหนุนด้วยผ้าห่อตัวแล้วพับให้หนา2 ทบหนุนบริเวณไหล่ของทารก ปัจจุบันมีการพัฒนาการนวัตกรรมของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดทำหมอนหนุนไหล่ให้น้องหายใจโล่ง เมื่อปี2012 พบว่าทารกหายใจสะดวกร้อยละ 100 ทางแผนกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดได้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพทารกทำให้ทารกนอนหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ดี มีการไหลเวียนของปอดทารกดีขึ้น ส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการสมวัยจึงได้คิดนวตกรรมส่งเสริมสุขภาพทารกป่วย มีชื่อว่า หนุนไหล่ให้น้องหายใจสะดวก
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
การเริ่มต้นการดำเนินการการจัดการความรู้ในครั้งนี้ สิ่งที่ทางทีมคาดหวังให้เกิดความรู้ ความเข้าใจพัฒนารูปแบบการใช้หมอนหนุนไหล่ให้ทารกหายใจสะดวก รวมไปถึงการประเมินการใช้หมอนหนุนไหล่ให้ทารกหายใจสะดวกและแก้ไขตามมาตรฐาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รูปแบบหมอนหนุนไหล่หายใจสะดวก ส่งเสริมการหายใจของทารกป่วยให้มีประสิทธิภาพ
2.ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ในการใช้หมอนหนุนไหล่หายใจสะดวกในแผนกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ร้อยละ80
หนุนไหล่60.pdf |
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |