คุณกำลังมองหาอะไร?

ร้อม Pay For Care Plan

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.10.2567
4
0
แชร์
31
ตุลาคม
2567

พร้อม Pay For Care Plan
การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge identification)
จากนโยบายสาคัญเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Long Term Care : LTC) ได้ประกาศให้มีการสร้างเสริมสุขภาวะสาหรับผู้สูงอายุและผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เป็นเพื่อเป็นการรองรับสังคมผู้สูงอายุโดยพบว่าประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านคนในปี 2537 เป็น 10 ล้านคน ในปี 2557 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคน ในปี 2583 ดังนั้น ในปี 2559 รัฐบาลมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยมีเปูาหมายสาคัญคือทาอย่างไรที่จะปูองกันไม่ให้ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงไม่เจ็บปุวย และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ดังนั้นรัฐบาลจึงได้สนับสนุนงบประมาณ จานวน 600 ล้านบาทให้กับสานักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และในปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็น จานวน 900 ล้านบาท สาหรับดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดบริการทางการแพทย์ เช่น บริการตรวจคัดกรอง ประเมินความต้องการดูแล จัดทาแผนการดูแลรายบุคคล ( care plan ) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขอรับการสนับสนุนการพิจารณาขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ และบริการสร้างเสริมสุขภาพและปูองกันโรคนอกจากนี้ใช้สนับสนุนค่าใช้จ่ายบริการด้านสังคมเช่นการปฏิบัติกิจวัตรประจาวันแต่พบปัญหาเงินงบประมาณจานวน 600 ล้านบาทในปี 2559 ยังไม่ถูกนาไปใช้ เป็นเงินค้างท่อ เนื่องจากแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ไม่ชัดเจน ดังนั้นในปี 2560 ส่วนกลางกาหนดกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน (ฉ. 2 ปีพศ. 2559 )ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยกาหนดตัวชี้วัดที่สาคัญคือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามเปูาหมายมีcare planที่ได้รับการอนุมัติซึ่งผู้มีบทบาทสาคัญในการทา care plan คือ Care Manager(ผู้ดูแลระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข) สาหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 ในปี 2559 มีผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต้องการความช่วยเหลือจังหวัดนครสวรรค์อุทัยธานี ชัยนาท กาแพงเพชร พิจิตรร้อยละ 4.8 4.5 7.4 5.7 และ 4.9 ตามลาดับดังนั้นเพื่อตอบสนองนโยบายการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เขตสุขภาพที่ 3 โดยสานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ 3 จัดอบรมCare Manager ในปี 2559 จานวน140 คน ซึ่งจากการติดตามผลภายหลังการฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรม ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager)ระหว่างปี 2558 – 2559 จังหวัดกาแพงเพชร จานวน 31 แห่ง พบว่าการนาความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานหลังอบรมจัดทาแผนดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการช่วยเหลือดูแลรายบุคคล(Care Plan) เพียงร้อยละ 70และพบว่าปัญหาอุปสรรคที่พบในการทา care planคือ ต้องใช้เวลานานถ้าทาในเวลาราชการจะไม่ทันเพราะต้องปฎิบัติหน้าที่อื่นอีกหลายด้าน และเมื่อCare Manager ลาออก โยกย้าย ผู้ไม่ได้อบรมก็ไม่สามารถทาได้Care Manager บางคนขาดประสบการณ์ในการเขียน care planมีข้อเสนอแนะให้ผู้รับผิดชอบจัดอบรมเพิ่มศักยภาพ แก่เจ้าหน้าที่ทุกคน เพื่อให้มีความรู้ในการทาแผนดูแลผู้สูงอายุและเยี่ยมผู้ปุวยได้ทุกคน และเสนอการประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีนาไปสู่การปฏิบัติ จากประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะในปีที่ผ่านมาในการจัดอบรมCare Managerปี 2560 จานวน 270 คน ผู้รับผิดชอบดาเนินการคือศูนย์อนามัยที่ 3 จึงนาประเด็นปัญหาที่ได้มาประสานอาจารย์ผู้สอนเพื่อแก้ไขในประเด็นที่สามารถทาได้ก่อนและจัดตั้งกลุ่มCM Lineปี 2560 ทั้งสองรุ่นเพื่อติดตามสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาอุปสรรคในการดาเนินงาน ซึ่งในปี2560 นี้กระทรวงสาธารณสุขเร่งให้Care Manager( CM)รีบส่ง care plan ก่อนสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2560 ก็ยังมีผู้ไม่เข้าใจในบางประเด็นของแบบฟอร์มยังมีการโทรสอบถาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางไลน์กลุ่มของ CM และขอเอกสารให้ส่งทาง mail เพิ่มเติม จากปัญหาดังกล่าวกลุ่มงานสูงอายุจึงได้ทาKM เรื่องนี้เพื่อปรับปรุงพัฒนาปัญหาในการทา care plan ให้ CMมีความเข้าใจการทา ตรงประเด็นสามารถนาไปวางแผนการทางานกับทีมสหสาขาวิชาชีพจากหน่วยบริการปฐมภูมิ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตาบล บริการดูแลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อสังคมไทยผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้ผู้สูงอายุมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี เป็นหลักชัยของสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์การดาเนินการ
1. เพื่อติดตามการนาความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปรับใช้ในการดาเนินงานของผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 และนาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงพัฒนาในการอบรมครั้งต่อไป
2. เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager)ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 ในการจัด
ทาแผนการดูแลรายบุคคล (Care plan )ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ
(Care Giver) สามารถนาไปปฏิบัติได้ตามแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล ( Care Plan )
ตัวชี้วัดความสาเร็จ
1. ความพึงพอใจของผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) ต่อการจัดทาแผนการดูแลรายบุคคล Care planร้อยละ > 85
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) จัดทาแผนการดูแลรายบุคคล Care plan/Weekly plan ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และสามารถประสานการปฏิบัติงานการดูแลตามแผนกับทีมสหวิชาชีพ บริหารจัดการและควบคุมกากับการทางานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) และประเมินแผนงานและผลการปฏิบัติงานเชิงระบบเพื่อปรับปรุงพัฒนางาน

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

สูงอายุ60.pdf
ขนาดไฟล์ 3MB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน