กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
เรื่อง แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้มของมารดาหลังคลอด
หน่วยงาน สูติ-นรีเวชกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์
รายชื่อผู้จัดทำ
1. นางสาววิราวรรณ์ วัชรขจร ที่ปรึกษา
2. นางสาววาสนา เงินม่วง หัวหน้าโครงการ
3. นางรัชนี วีระวงศ์
4. นางสาวเรณู สุขแจ่ม
5. นางสาวศัสยมน ตุลยศุกร์สิริ
6. นางนลัทพร พรมพินิจ
7. นางสาวจิราพร วงศ์นิคม
8. นางสาวภุมรินทร์ จันทราช
9. นางสาวดวงพร รัตนเจียมรังสี
10. นางสาวพิมลพร อันยงค์
11. นางสาวทิพวรรณ สุขเนียม
การบ่งชี้ความรู้
จากสถิติอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มในแผนกสูติ-นรีเวชกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ในปี 2559 ที่ผ่านมาพบ 1 ราย ทำให้ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น แผนกสูติ-นรีเวชกรรม พบอุบัติการณ์มารดาหลังคลอดพลัดตกหกล้ม 1 ราย และมีมารดาเป็นลม 4 ราย ให้การช่วยเหลือได้ทัน ผู้ป่วยไม่ได้รับบาดเจ็บ จากการทบทวนอุบัติการณ์ พบว่ามารดาหลังคลอดมีภาวะเสียเลือดขณะคลอด ส่งผลให้ให้มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม แนวทางการดูแลมารดาหลังคลอดแบบเดิม คือติดป้ายการบอกเวลาครบปัสสาวะและลุกจากเตียง และมีการอธิบายการปฏิบัติตัวหลังคลอดโดยไม่มีสื่อ การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุแนวทางการดูแลยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
แผนกสูติ-นรีเวชกรรม จึงทบทวนและหาแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันอุบัติเหตุ ในมารดาหลังคลอด จึงได้มีการพัฒนาโดยจัดทำป้ายให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และตกลงหาแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่ มารดาหลังคลอดภายใน 24 ชม (หลังย้ายออกมาจากห้องคลอด)
ดังนั้นทางแผนกได้เห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม จึงได้มีการปรับปรุงป้ายให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และจัดทำแนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ให้เป็นมาตรฐาน อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล เป็นไปตามแผนการรักษา
คำจำกัดความ
การพลัดตกหกล้ม (Fall) หมายถึง เหตุการณ์ต่างๆ ที่มีผลทำให้เกิดการลื่นล้มลงบนพื้นทุกชนิดในโรงพยาบาล รวมทั้งการตกเตียง ตกจากเปล หรือล้อนั่ง
การป้องกันการพลัดตกหกล้ม หมายถึง กิจกรรมการพยาบาลที่ต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มในมารดาหลังคลอด
2. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการพลัดตกหกล้มในมารดาหลังคลอด
เป้าประสงค์
ลดอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้ม
สุตินนีเวช60).pdf |
ขนาดไฟล์ 1,008KB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |