คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนารูปแบบการสอนนับลูกดิ้นโดยเจ้าหน้าที่ในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ( ลูกน้อยปลอดภัยแม่ใส่ใจนับลูกดิ้น )

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.10.2567
1
0
แชร์
31
ตุลาคม
2567

เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนนับลูกดิ้นโดยเจ้าหน้าที่ในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ( ลูกน้อยปลอดภัยแม่ใส่ใจนับลูกดิ้น )
นางสุริยา เครนส์ และคณะ
ลูกน้อยปลอดภัยแม่ใส่ใจนับลูกดิ้น
หญิงตั้งครรภ์ทุกรายจำเป็นต้องมีส่วนร่วม ในการดูแลลูกน้อยในครรภ์เองในช่วงที่ไม่ได้มารับการตรวจในโรงพยาบาล ซึ่ง ได้แก่ การนับลูกดิ้นในท้อง เป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา การนับลูกดิ้น คือการบ้านที่โรงพยาบาลฝากไปให้คุณแม่ทำที่บ้านเพราะคุณแม่มาฝากครรภ์ก็มาอย่างมากเพียงเดือนละครั้ง แล้วครั้งละไม่กี่ชั่วโมง คุณแม่ก็กลับบ้านแล้วพร้อมหอบหิ้วลูกน้อยในท้องไปหยิบท้องด้วย ไม่ได้มาวางแล้วฝากไว้กับหมอหรือพยาบาลจริงๆ แล้วสิ่งเดียวที่จะรู้ได้ว่าลูกน้อยในท้องยังแข็งแรงอยู่หรือไม่ คือลูกดิ้นดีอยู่มั้ย ในขณะที่ท้องคับแคบลงแต่ลูกน้อยตัวกลับโตขึ้นเรื่อยแล้วดิ้นเปลี่ยนท่าทุกวัน อุบัติเหตุในท้องก็อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด เพราะสะดือยาว 50-100 ซม. อาจเกิดเหตุสายสะดือมัดกันเองเป็นปม 1ปมหรือ 2 ปม ลูกจะหายใจ40สะดวกไหม อาหารไปหาลูกสะดวกหรือไม่
การดิ้นของลูกน้อยในครรภ์นั้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยในท้อง มีสุขภาพเป็นอย่างไร ตอนไหนที่ลูกกำลังตื่น หรือตอนไหนที่ลูกกำลังหลับอยู่ การดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ น้อยลง มักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย โดยลูกน้อยจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นเป็นเวลาประมาณ 12-48 ชั่วโมงก่อนที่จะเสียชีวิต ดังนั้นการนับลูกดิ้นจะช่วยในการตรวจ ค้นคว้าหรือแก้ไขภาวะที่อาจทำให้ลูกน้อยเสียชีวิตได้ การนับลูกดิ้นหากคุณแม่รู้สึกว่าลูกน้อยดิ้นดี แสดงว่าสุขภาพของลูกน้อยในท้องยังดี แต่ถ้ารู้สึกว่าการดิ้นของลูกน้อยในท้องน้อยลง แสดงว่าเป็นสัญญาณอันตรายต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไปว่าลูกน้อยมีสุขภาพในท้องที่ไม่ดีหรือไม่
จากการเก็บรวบรวมสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะทารกที่เสียชีวิตในครรภ์0 ปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากหญิงตั้งครรภ์ ยังไม่เข้าใจวิธีการสังเกตและนับลูกดิ้นที่ถูกต้องเนื่องจากไม่รู้ ไม่เข้าใจ ทำไม่ได้ ไม่มีเวลา ลืมไม่กล้าที่จะซักถามและไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการนับลูกดิ้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่เองก็ขาดการประเมินความรู้ความเข้าใจและการบันทึกลูกดิ้น ไม่มีทักษะในการสอนนับลูกดิ้นแก่ผู้รับบริการ ใช้ภาษาในการสอนที่เข้าใจยาก เจ้าหน้าที่ในแต่ละบุคคลไม่สอนตามแนวทางที่ตกลงกันไว้
ดังนั้นทีมพยาบาลฝากครรภ์ จึงได้ทำกิจกรรม พัฒนาคุณภาพการเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและป้องกันทารกเสียชีวิตในครรภ์โดยมารดาสามารถนับและบันทึกลูกดิ้นได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยมีเป้าหมาย พัฒนารูปแบบการสอนนับลูกดิ้นโดยเจ้าหน้าที่มีการสอนนับลูกดิ้นเป็นไปในทิศทางเดี่ยวกัน 100 %
การแสวงหาความรู้
1. ค้นหาข้อมูลการดำเนินการในส่วนนี้จากโรงพยาบาลอื่นๆทางอินเตอร์เน็ต จากการพูดคุยกับเพื่อนที่ปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นบ้าง
2 .สอบถามพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานในแผนกที่เกี่ยวข้องกันโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมองหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ฝากครรภ์60.pdf
ขนาดไฟล์ 107KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน