คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาคุณภาพการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยปี 2560

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.10.2567
5
0
แชร์
31
ตุลาคม
2567

การพัฒนาคุณภาพการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยปี 2560
ผู้จัดทำ : กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
การบ่งชี้ความรู้
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เป็นเครื่องมือที่จะประเมินพฤติกรรมการกินและการทำความสะอาดฟัน ร่วมกับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกครั้ง ที่มารับบริการคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี จะช่วยให้พบความเสี่ยงหรือความผิดปกติเริ่มต้น ประโยชน์ของการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุ สามารถป้องกัน รักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่โรคฟันผุจะลุกลาม โดยการให้ความรู้กับผู้ปกครองให้เห็นผลเสียของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ให้คำแนะนำและพัฒนาทักษะผู้ปกครองให้สามารถทำความสะอาดช่องปาก และสร้างพฤติกรรมการกินให้กับเด็กได้อย่างถูกต้อง
จากการดำเนินงานตามแนวทางการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2558 ได้แบ่งกลุ่มเสี่ยงออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มไม่เสี่ยง กลุ่มเสี่ยงปานกลาง และกลุ่มเสี่ยงสูง และให้ความรู้ในด้านการปรับพฤติกรรมการกินและการแปรงพันร่วมกันซึ่งจะปฏิบัติด้วยกันทุกกลุ่มเสี่ยง ซี่งปัญหาที่พบ คือระยะเวลาในการให้ความรู้ทันตสุขศึกษาหลังจากที่ประเมิน จะใช้เวลานาน อีกทั้งผู้ปกครองอาจไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกข้อ เนื่องจากมองว่าเนื้อหาของการให้ความรู้ บางเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุตรหลาน ส่งผลให้ปฏิบัติได้ไม่ครอบคลุม อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยยังคงมีอยู่ในระดับที่ยังต้องแก้ไข
กลุ่มงานทันตสาธารณสุข จึงได้มีการทบทวนและปรับแนวทางการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุของเด็กปฐมวัย ปรับจาก 3 กลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงน้อย กลุ่มเสี่ยงปานกลาง และกลุ่มเสี่ยงสูง โดย คำแนะนำจะเป็นดังนี้ กลุ่มปกติ (นัดตรวจฟันทุก 6 เดือน) กลุ่มเสี่ยงน้อย ( ลด ละ เลิกในพฤติกรรมการกิน / ตรวจฟัน 6 เดือน ) กลุ่มเสี่ยงปานกลาง ( ลด ละ เลิก พฤติกรรมการกิน /ฝึกทักษะการแปรงฟัน /ตรวจฟัน 6 เดือน ) และในกลุ่มเสี่ยงสูง (ลด ละ เลิก พฤติกรรมกิน /ฝึกทักษะการแปรง /ทาฟลูออไรด์ /อุดฟัน หรือรักษารากฟัน ตรวจฟันทุก 3 เดือน)
จะเห็นได้ว่าการแบ่งกลุ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ จากเดิม 3 กลุ่มเสี่ยง ปรับมาเป็น 4 กลุ่มเสี่ยง คำแนะนำในการให้ความรู้มีความชัดเจน เนื้อหากระชับ ผู้ได้รับการประเมินจะได้คำแนะนำตรงประเด็นกับความเสี่ยงของตนเอง ผู้ปกครองปฏิบัติได้ และมาตามนัด ปัญหาเรื่องโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มลดลง
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1.เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุฯ ทั้งเนื้อหามีความกระชับ ความครอบคลุม สะดวกทำให้ปฏิบัติงานง่ายขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.มีการขยายการใช้แนวทางการประเมินความเสี่ยงโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เพิ่มขึ้นในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 3
2.อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 3 มีแนวโน้มลดลง

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ทันตกรรม60.pdf
ขนาดไฟล์ 434KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน