คุณกำลังมองหาอะไร?

นวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมือเท้าปากในเดย์แคร์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

31.10.2567
2
0
แชร์
31
ตุลาคม
2567

แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมือเท้าปากในเดย์แคร์
“บ้านหลังที่ 2” คำคุ้นหูของคนทั่วไป หรือบางคนเรียก “ศูนย์เด็กเล็ก” เป็นสถานที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลบุตรหลานรองจาก ปู่ย่า ตายาย หรือคนใกล้ชิด แต่ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรบทบาทหน้าที่สำคัญก็คือ การดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีก่อนเข้าโรงเรียน และมีความสุข ประเด็นสำคัญที่กำลังทำใน KM ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างเดย์แคร์และผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคติดต่อในเดย์แคร์ โดยเฉพาะโรคที่ทำให้ต้องปิดบริการ อย่างโรคมือเท้าปาก ซึ่งติดต่อกันได้ง่าย เพราะเมื่อเด็กเจ็บป่วยในช่วงวัยนี้ จะส่งผลโดยตรงกับพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก นอกจากจะส่งผลกระทบกับตัวเด็กแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองที่ต้องหยุดงาน ทำให้ขาดรายได้ เสียค่าใช้จ่ายในการักษา อีกทั้งยังส่งผลกับภาพลักษณ์ของเดย์แคร์อีกด้วย
เดิมในปี 2559 ที่ผ่านมาเดย์แคร์ต้องปิดรับบริการด้วยโรคมือเท้าปาก 2 ครั้ง จากการสังเกตพบว่าเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่รับเด็กโดยไม่คัดกรองอย่างจริงจัง และผู้ปกครองบางส่วนที่ไม่ให้ความสำคัญต่อข้อตกลงเดิม คือเมื่อเด็กมีไข้ 37.6 จะไม่นำมารับบริการที่เดย์แคร์ ผู้ปกครองป้อนยาลดไข้ก่อนมาส่ง และปกปิดข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ ฉะนั้น การทบทวนแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคในครั้งนี้ จะช่วยลดและแก้ปัญหาการเจ็บป่วย จากโรคมือเท้าปากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากการศึกษาโรคมือเท้าปาก ในปัจจุบันมีการระบาดในทุกฤดูกาล มีอาการเริ่มแรกหลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน จะแสดงอาการป่วยเริ่มด้วยมีไข้ตํ่าๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม รับประทานอาหารหรือนมไม่ได้ นํ้าลายไหล ส่วนผื่นที่ผิวหนังนั้นอาจเกิดพร้อมแผลในปากหรือเกิดหลังแผลในปากเล็กน้อย ในการศึกษาดูงานและพูดคุยกับคณะศึกษาดูงานจากศูนย์เขตอื่นๆ ที่สถานอนามัยเด็กกลาง สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ ซึ่งมีการให้บริการเด็กก่อนวัยเรียนเช่นเดียวกัน พบว่าแนวทางการป้องกันโรคมือเท้าปาก มีรูปแบบการคัดกรองโรคมือเท้าปากที่คล้ายคลึงกัน คือการคัดกรองเด็กก่อนเข้าห้องเรียนด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิจากหน้าผาก ตรวจช่องปาก ตรวจดูผื่นที่มือและทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลล้างมือเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับศูนย์เรา จึงเกิดเป็นแนวทางการในการเฝ้าระวังและป้องกัน โดยขออนุญาติผู้ปกครองไม่นำเด็กมารับบริการด้วยอาการเจ็บป่วยต่อไปนี้ คือมีไข้มากกว่าหรือ 37.5° หายใจเร็ว 40/นาที เหนื่อยหอบ ไอมีเสมหะ นํ้ามูกเขียวข้น ตาแดง มีขี้ตา ถ่ายเหลวเกิน 3/วัน มีผื่นทุกชนิด หรือมีแผลรอยโรคมือเท้าปาก

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

เดยืแคร์60.pdf
ขนาดไฟล์ 356KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน