กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ตกแล้วไง?
หัวหน้าโครงการ นายแพทย์ ชัยวัฒน์ อภิวันทนา ประธาน PCT
สมาชิกกลุ่ม คณะกรรมการ PCT ปี 2560
การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge identification)
จากประเด็นคุณภาพที่สำคัญ (KEY QUALITY ISSUES) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัย ที่ 3 คือการให้บริการตามมาตรฐาน ผู้ป่วยปลอดภัย และพึงพอใจในการให้บริการ ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่ทำให้ได้ประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยที่มารับบริการ ตามมาตรฐานของโรงพาบาล ที่ผ่านมาพบประเด็นที่สำคัญที่ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญประเทศ พบอัตราการตายของมารดาที่เกิดจากภาวะตกเลือดหลังคลอด ถือว่าประเด็นที่สำคัญที่เป็นสิ่งที่ท้าทายที่สามารถป้องกันได้ ด้วยเหตุนี้ ทาง PCT จึงได้นำปัญหานี้มาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแล ผู้คลอดที่มาคลอดที่โรงพยาบาล เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด และสามารถเป็นต้นแบบของการดูแลแม่และเด็ก คือ การพัฒนาระบบบริการให้ตามมาตรฐานอนามัยแม่และเด็กได้
จากเดิมโรงพยาบาลได้พัฒนารูปแบบการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการตกเลือดหลังคลอดโดยใช้Active management in 3rd stage, Early detection & Early management และใช้นวัตกรรม “ถุงตวงเลือด” เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และรวดเร็วในการประเมินการสูญเสียเลือด จากนั้นเก็บสถิติพบว่าการตกเลือดหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละต่อจำนวนผู้คลอด ปี 2557, 2558,2559 มีค่าเฉลี่ย 4.10,3.00,6.55 ซึ่งปี 2559 เกินเกณฑ์ ร้อยละ 5 จากจำนวนผู้คลอดทั้งหมด แต่จากข้อมูลพบว่าไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการตกเลือดตกเลือด
จากการทบทวนหาสาเหตุของการตกเลือดแล้วพบว่าส่วนใหญ่แล้วมาจากมดลูกหดลัดตัวไม่ดี และการขาดของเส้นเลือด นำไปสู่การทบทวนเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการป้องกันและการรักษาการตกเลือดหลังคลอด ซึ่ง CPG เดิมใช้เริ่มตั้งแต่ ปี 2557ก็ ยังพบอัตราการตกเลือดเกินเกณฑ์ และจำนวนรายมากขึ้น จึงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PCT ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาการกระบวนการดูแลมารดาหลังคลอดในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อลดอัตราการตกเลือดหลังคลอดในมารดาที่คลอดในห้องคลอดและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในมารดาที่ตกเลือดหลังคลอด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดอัตราการเกิด Early และ Late PPH
2. เพื่อลดภาวะแรกซ้อนที่เกิดจาก PPH
3. เพื่อมีกระบวนการการดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจน(CPG)
ขับเคลื่อน60.pdf |
ขนาดไฟล์ 315KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |