กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง การขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดี
หัวหน้าโครงการ ดร.วณิชา กิจวรพัฒน์
สมาชิกกลุ่ม
1. นางพะเยาว์ กรีกำ
2. นางศศิวันต์ ศุภนิเวศพ์
3. นางสาวเบ็ญจา ยมสาร
4. นางสาวนัยนา สำเภาเงิน
5. นางฐิติชยา ไทยพาท
6. นางสาวพจน์กาญจณ์ บัณฑิตวงศ์
7. นางนาฏสินี ชัยแก้ว
8. นางสาวสุนันทา โพธิพล
การทบทวนการจัดการความรู้
จากสถานการณ์ปัญหาในเขตสุขภาพที่ 3 จะเห็นว่ายังพบมารดาตายจากการคลอดบุตรทุกปี ในแต่ละจังหวัด ซึ่งในปี 2555 พบมารดาตาย 35.3 ต่อแสนการเกิดมีชีพแสน ด้วยสาเหตุน้ำคร่ำอุดตันในหลอดเลือด ตกเลือดหลังคลอด ปี 2556 อัตราแม่ตาย 19.4 ต่อแสนการเกิดมีชีพแสน ด้วยสาเหตุติดเชื้อ และน้ำคร่ำอุดตันในหลอดเลือด ปี 2557 มารดาตาย 15.7 ต่อแสนการเกิดมีชีพแสน ด้วยสาเหตุติดเชื้อและการตกเลือดหลังคลอดบุตร (PPH) อัตราการเกิด Low Birth Weight : LBW ตั้งแต่ปี 2555 – 2557 มีแนวโน้มสูงขึ้น ผลงานเท่ากับ 8.9, 8.7 และ 9.1 ซึ่งพิจารณารายจังหวัดพบสูงกว่าเป้าหมายทุกจังหวัด และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด LBW เช่น Preterm ก็เป็นปัจจัยสำคัญ จะเห็นว่าอัตราการเกิด Preterm ในเด็กกลุ่ม LBW สูงมาก ปี 2556 - 2557 ร้อยละ 36.5 และ 40.1 ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ก็ยังเป็นปัญหาในทุกจังหวัดสถานการณ์ในปี 2555 – 2557 เท่ากับ 20.7, 20.2 และ 21.6 โดยมีแนวโน้มสถานการณ์จะสูงขึ้นในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร สถานการณ์การดูแลสุขภาพเด็ก 0 - 5 ปี ในภาพรวมของเขต ทารกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 56.5 (เป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50) จำแนกรายจังหวัด ดังนี้ กำแพงเพชร ร้อยละ 67.30 , นครสวรรค์ ร้อยละ 97.50, พิจิตร ร้อยละ 64.79, ชัยนาท ร้อยละ 70.50 , อุทัยธานี ร้อยละ 17.50 สำหรับด้านการเจริญเติบโต เด็ก 0-5 ปี มีรูปร่างดีและสมส่วน ร้อยละ 74.06 พบว่า กำแพงเพชร ร้อยละ 89.00 ,นครสวรรค์ ร้อยละ 77.90 , พิจิตร ร้อยละ 62.80 , อุทัยธานี ร้อยละ 68.82 , ชัยนาท ร้อยละ 71.80 (เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 70) ด้านพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการ ร้อยละ 96.55 มีพัฒนาการสมวัย (จากระบบรายงาน) ร้อยละ 98.83 และพัฒนาการสมวัย (จากข้อมูลจากนักส่งเสริมพัฒนาการ) ร้อยละ 84.82 จากข้อมูลข้างต้น พบว่า ความครอบคลุมในการประเมินพัฒนาการยังมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จังหวัดอุทัยธานี ร้อยละ 51.50 (ใน WCC) เด็กอายุ 6-12 ปี มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 60.7 ในพ.ศ. 2556 และมีภาวะ
2
อ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ 8.8 ในพ.ศ. 2557 ร้อยละ 9.5 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์ปัญหา พบว่า จากการสำรวจของศูนย์อนามัยที่
8 เมื่อปี 2556 ภาวะการเจริญเติบโตของเด็กวัย 6-12 ปี มีปัญหา เริ่มอ้วนและอ้วน เกินเป้าหมาย ร้อยละ 10 เกือบทุกจังหวัด ยกเว้นพิจิตร ส่วนสูงค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยสูงสุด ชัยนาท ร้อยละ 12.4 รองลงมา กำแพงเพชร 11.5 จากการศึกษาผลกระทบทางด้านสังคม-เศรษฐกิจจากการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทย (กรมอนามัย, 2555) พบว่า การเกิดโรคจากการตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอดของแม่วัยรุ่น คือแม่วัยรุ่นมีการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 5.68, ภาวะซีด ร้อยละ 19.51, มีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ร้อยละ 2.14 นอกจากนี้พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนของทารกที่เกิดจากแม่วัยรุ่นได้แก่ ทารกน้ำหนักน้อย ร้อยละ11.79, คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 7.55 เมื่อเปรียบเทียบกับแม่วัยผู้ใหญ่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและเป็นนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 67.5 อัตราคลอดในมารดาอายุ 15 -19 ปี ในปี 2555 – 2557 เท่ากับ 58.3, 56.1 และ52.5 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19ปี 1,000 คน (เป้าหมายไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19ปี 1,000 คน) ร้อยละของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีที่มาคลอดหรือแท้งบุตรและเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2ขึ้นไป (ตั้งครรภ์ซ้ำ) ร้อยละ 12.92 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 10) ผู้สูงอายุจากการสำรวจแยกตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ในปี 2558 พบว่า จังหวัดนครสวรรค์มีกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ88.56, กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 9.78 และกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ร้อยละ 1.65 จังหวัดกำแพงเพชร มีกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ89.28, กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 9.02 และกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ร้อยละ 1.7 จังหวัดพิจิตร มีกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ94.17, กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 4.74 และกลุ่มผู้สูงอายุ ติดเตียง ร้อยละ 1.09 จังหวัดอุทัยธานี มีกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ 91.40, กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 7.32 และกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ร้อยละ 1.28 จังหวัดชัยนาท มีกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ 92.05, กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 6.52 และกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ร้อยละ 1.44 ภาพเขตมีกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ 90.64, กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ร้อยละ 7.88 และกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ร้อยละ 1.47
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กรมอนามัยได้กำหนดนโยบายการขับเคลื่อนระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอ (District Health Promotion and Environmental Health System : DPES) เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยตลอดช่วงชีวิตภายใต้บทบาทภารกิจกรมอนามัย โดยเน้นการขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในทุกภาคส่วน และสอดรับกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ DHS (District Health System) ศูนย์อนามัยที่ 3 จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดีด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมฯ โดยมีเป้าประสงค์ให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดีและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพดี
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานในการขับเคลื่อนอำเภอสุขภาพดี
2. เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการขับเคลื่อนระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในอำเภอ
พสส.59.compressed.pdf |
ขนาดไฟล์ 554KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |