คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด..ปลอดโฟม

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

02.10.2567
1
0
แชร์
02
ตุลาคม
2567

ชื่อเรื่อง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด..ปลอดโฟม
หัวหน้าโครงการ
นางกรุณา สุขแท้ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
สมาชิกกลุ่ม (อาจระบุเป็นหน่วยงาน หากทำทั้งหน่วยงาน)
1. นางสาวฐิรัศท์ชา รอดตัว เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญงาน
2. นางสาวเสาวนีย์ สาบุตร นักวิชาการสาธารณสุข
3. นางสาวจุไรรัตน์ ชำนาญไพร เจ้าพนักงานเวชสถิติชำนาญงาน
4. นางสาวสุทธิหญิง ฝอยทอง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
การทบทวนการจัดการความรู้ (ความเป็นมา เหตุผล ความจำเป็น การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
และการคัดเลือกองค์ความรู้ที่มาจัดการความรู้)
ปัจจุบันภาวการณ์เจริญของบ้านเมืองเปลี่ยนไป ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และ สังคม
ผู้คนนิยมซื้ออาหารบรรจุในภาชนะโฟม เพื่อความสะดวกสบาย จากข้อมูลทางสถิติจากกรมอนามัย
พบว่า ประชากรในประเทศ 60 ล้านคน เฉลี่ยใช้โฟมและพลาสติก 2.3 ชิ้นต่อวัน คนไทยทุกคนใช้
โฟมและพลาสติกเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นอาหารพร้อมรับประทาน หรืออาหารแช่เย็นจากซุปเปอร์-
มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาดสด และตลาดนัด ซึ่งนอกจาก
ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยจำนวนมหาศาลที่กำจัดยากส่งผลให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังก่อให้เกิด
ผลเสียต่อสุขภาพของประชาชน คือเสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตาย
อันดับ 1 ของประเทศไทยและในเขตสุขภาพที่ 3 ติดต่อกัน 3 ปี จากการศึกษาพบว่าการรับประทาน
อาหารจากภาชนะโฟม ต่อเนื่องกันเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 10 ปี มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าปกติ
6 เท่า โดยความร้ายแรงของภาชนะโฟมจะปล่อยสารสไตรีนออกมาสู่อาหารได้แม้ว่าอยู่ในอุณหภูมิ
ปกติ /เย็น และยังสามารถซึมผ่านเปลือกไข่ได้ในอุณหภูมิปกติ สารสไตรีนจะมากขึ้นเมื่ออาหารนั้น
ร้อน มีไขมัน และระยะเวลาที่อาหารนั้นอยู่ในโฟม จะเห็นว่า แม้ว่าอาหารสะอาดปลอดภัย แต่บรรจุ
ในภาชนะที่ไม่ปลอดภัย ก็ทำให้อาหารนั้นไม่ปลอดภัยเช่นกัน จากผลเสียดังกล่าว กรมอนามัยโดย
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ได้ให้ความสำคัญของภาชนะใส่อาหาร จึงได้จัดทำโครงการ ลด ละ
เลิก ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ในปี 2558 โดยขอความร่วมมือจากศูนย์อนามัยในการดำเนินงาน
ดังกล่าวในหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานอื่นๆ ต่อมาในปี 2559 ได้ขยายผล
ดำเนินงานในหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่มีการใช้โฟมบรรจุอาหารได้แก่
แหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่สาธิตการ
ดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของศูนย์อนามัยที่ 3
ดังนั้นศูนย์ฯ จึงได้นำนโยบายno foam ไปนำเสนอผู้บริหารของแหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด
และร่วมกันขับเคลื่อน no foam ตั้งแต่ปี 2558 และในปี 2559 แหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ดได้นำ
นโยบายดังกล่าวไปประกาศใชอ้ ย่างเป็นทางการทั้งในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย
จำหน่ายอาหาร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในบึงบอระเพ็ดด้วย โดยในกระบวนการดำเนินงานศูนย์ฯ
เป็นผู้สนับสนุนด้านองค์ความรู้ทางวิชาการ ให้คำแนะนำและสื่ออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งติดตาม
ประเมินเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวปลอดโฟม 100%

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

พสว.1-59.compressed.pdf
ขนาดไฟล์ 88KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน