คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาการประเมินปริมาณ การเสียเลือด โดย ชั่ง ตวง วัด

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.09.2567
9
0
แชร์
25
กันยายน
2567

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการประเมินปริมาณเสียเลือด โดยชั่ง ตวง วัด
หน่วยงาน : วิสัญญี
รายชื่อผู้จัดทำ : เจ้าหน้าที่งานวิสัญญี
1. นางวารุณี พู่พิสุทธิ์
2. นางภาณินี สธนพานิชย์
3. นางณพิชญา งดงามทวีสุข
4. นางสาววิไลพร หาระดี
5. นางสิรินทร์ทิพย์ สุขเกษม
กระบวนการจัดการความรู้
การบ่งชี้ความรู้
เหตุผลและที่มา
ในการผ่าตัดสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การดูแลผู้รับบริการได้อย่างปลอดภัย คือ การประเมินปริมาณการเสียเลือดจากการผ่าตัด หากการประเมินได้ใกล้เคียงกับปริมาณที่ผู้รับบริการเสียเลือดจริง จะทำให้สามารถดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเสียเลือดของผู้รับบริการได้เร็วขึ้น สำหรับผู้รับบริการสูติกรรมจะมีปัญหาในการประเมินปริมาณการเสียเลือดที่ยากกว่าผู้รับบริการผ่าตัดทั่วๆ ไป เพราะจะมีส่วนของน้ำคร่ำเข้ามาปะปนกับเลือดขณะผ่าตัดด้วย ซึ่งมีความพยายามในการประเมินปริมาณการเสียเลือดมาหลากหลายวิธี แต่โดยทั่วไปก็มักจะประเมินได้น้อยกว่าความเป็นจริง ดังนั้นการนำเอาอาการแสดงทางคลินิกที่สัมพันธ์กับการสูญเสียเลือดมาพิจารณาร่วมด้วยเพื่อประเมินปริมาณการเสียเลือด ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของผู้ประเมิน เนื่องจากอาการของผู้รับบริการอาจมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว ไม่ทันกับการประเมิน ทำให้ผู้รับบริการได้รับการช่วยเหลือล่าช้าตามไปด้วย
ที่ผ่านมาการประเมินปริมาณการเสียเลือดในผู้รับบริการที่มารับการผ่าตัด พยาบาลวิสัญญีจะเป็น ผู้ประเมิน โดยประเมินจากปริมาณเลือดที่พยาบาลห้องผ่าตัดดูดมาในขวด Suction นับรวมกับปริมาณเลือดจากผ้าGauze และผ้า swab ซึ่งการประเมินปริมาณเลือดจากผ้าเปื้อนเลือดของเดิมมีดังนี้
1. Gauze ชุ่มเลือด คิดเป็น ชิ้นละ 10 cc
2. ผ้า Swab ชิ้นเล็ก ชุ่มเลือด คิดเป็น ชิ้นละ 50 cc
3. ผ้า Swab ชิ้นใหญ่ ชุ่มเลือด ชิ้นละ 100 cc
ในส่วนที่ผ้าไม่ชุ่มเลือดหรือชุ่มเลือดไม่เต็มผืน จะประเมินปริมาณเลือดโดยหักลดหลั่นตามความเหมาะสมจากปริมาณการเปื้อนของผ้า เช่น จากปกติผ้า Gauze ชุ่มเลือด เต็มผืน คิดเป็น ปริมาณเลือด 10 cc แต่ถ้าผ้า Gauze เปื้อนเลือดครึ่งผืน คิดเป็น ปริมาณเลือด 5 cc เป็นต้น โดยมีการอิงจากวิชาการและมีการทวนสอบจากวิสัญญีพยาบาลด้วยกัน จากนั้นนำปริมาณการเสียเลือดทั้งหมดมาบวกรวมกันจะได้เป็นปริมาณการเสียเลือดทั้งหมดของผู้รับบริการ (Total Blood Loss) แต่ถึงแม้ว่าวิธีการนี้วิสัญญีพยาบาลจะมีการประเมินมาเท่ากัน/ใกล้เคียงกันทุกคน แต่เมื่อเทียบกับความน่าเชื่อถือที่เป็นสากล งานวิสัญญี จึงร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการคิดหาแนวทางการประเมินปริมาณการเสียเลือดรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินปริมาณการเสียเลือดในผู้รับบริการที่มารับการผ่าตัด ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำมากขึ้นผู้รับบริการได้รับการช่วยเหลือตามความเหมาะสมอย่างทันท่วงทีและมีความปลอดภัยแทนการประเมินปริมาณการเสียเลือดในผู้รับบริการที่มารับการผ่าตัดในรูปแบบเดิม
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินปริมาณการเสียเลือดให้มีความถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น
2. เพื่อผู้รับบริการได้รับการช่วยเหลือตามความเหมาะสมอย่างทันท่วงทีและมีความปลอดภัย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. การประเมินปริมาณการเสียเลือดถูกต้อง แม่นยำ
2. ง่ายต่อผู้ปฏิบัติในการประเมิน
3. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพึงพอใจต่อการใช้งาน และการประเมิน
4. เผยแพร่แนวคิด “การพัฒนาการประเมินปริมาณเสียเลือด โดยชั่ง ตวง วัด” แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่มาศึกษาดูงาน นักศึกษาพยาบาลที่มาฝึกปฏิบัติงาน และ Website ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

งานวิสัญญี59.compressed.pdf
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน