กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง การพัฒนากระบวนการส่งนมแม่ให้ทารกป่วย งานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
หัวหน้าโครงการ
นางณัฐนันท์ วงษ์มามี
สมาชิกกลุ่ม
1.นางสาวเยาวลักษณ์ กาญจนะ
2.นางวารี อรุณเรืองสวัสดิ์
3.นางสาวนิตยา แซ่ลี้
4.นางสาวสำนวล คำแฝง
5.นางนริศา ทิมศิลป์
6.นางละเอียด เขียวสุข
7.นางสาวปิยนุช อ่อนสด
8.นางสาวกรภัทร ขันติวงค์
9.นางนุชนาฎ สวนดอกไม้
10.นางสาวธัญญลักษณ์ นาคแจ่ม
11.นางสาวรุ่งฤดี ลิขิตพงศ์ธร
12.นางสาวอัชรา โพธิ์ทัย
13.นางวรกานต์ วิญญูกูล
14.นางนภารัตน์ ประภัสสร
15.นางสาวนิตยา ธงชัย
17. นางสาวหทัยรัตน์ โพธิ์ทัย
18.นางสาววรลักษณ์ อินทร์เดช
19.นางสาวสมฤทัย สกุลนี
การทบทวนการจัดการความรู้
ตามที่ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึงอายุ 6 เดือนนั้น จากการศึกษาของ Diane L. Spatz, PhD RNC FAAN,and Taryn M. Edwards, BSN RNC พบว่าน้ำนมมารดามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทารกที่ป่วย โดยเฉพาะนม colostrum ซึ่งเป็นน้ำนมแรกที่ผลิตในระหว่างการตั้งครรภ์ และภายใน 72 ชั่วโมงหลังคลอด เป็นแหล่งอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเปรียบได้เท่ากับวัคซีนธรรมชาติ โดยเฉพาะทารกมีความเสี่ยงที่เริ่มต้นชีวิตของพวกเขาในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการที่ได้รับนมแม่ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการดูแลช่องปากด้วยน้ำนมแม่ หรือการให้เป็นอาหารก็ตาม
จากการวิเคราะห์ข้อมูล ของงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2558–ธันวาคม 2558 พบว่า จากจำนวนทารกแรกเกิด 150 ราย มีครอบครัวที่ส่งน้ำนมแม่แก่ทารกภายใน 24 ชั่วโมงแรก จำนวน 44 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.33 ปัญหาที่พบคือครอบครัวที่ไม่ได้ส่งน้ำนมแม่ให้ทารกภายใน 24 ชั่วโมงแรก ร้อยละ 70.67 ซึ่งส่งผลกระทบให้ทารกกลุ่มนี้ไม่ได้รับการดูแลช่องปากด้วยน้ำนมแม่ หรือการให้เป็นอาหารตามแผนการรักษาของแพทย์
ดังนั้น งานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลทารกป่วย จึงสนใจที่จะศึกษา
กระบวนการส่งนมแม่ให้ทารกป่วย จากกระบวนการเดิม
เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่พบ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ร่วมกับบิดามารดา ครอบครัว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นการพัฒนากระบวนการ
บริการทางการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ในการส่งนมแม่
ให้ทารกป่วย ของงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนากระบวนการส่งนมแม่ให้ทารกป่วย งานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
งานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด59.compressed.pdf |
ขนาดไฟล์ 273KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |