กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแนวทางการบริการปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้มีมาตรฐานในการบริการ
ปรึกษา
ชื่อหน่วยงาน งานบริการปรึกษา กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3
รายชื่อผู้จัดทำ
FA นางสาวรัชนี ปวุตตานนท์
ผู้ร่วมจัดทำ 1.นางวนาพร คณาญาติ
2.นางสาวรัชนี ปวุตตานนท์
3. นางสาวภัทร์สรรพ์พร ศรีวรรณ
Note taker นางวนาพร คณาญาติ
กระบวนจัดการความรู้
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม จะมีอัตราเสี่ยง
ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกทั้งระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอดได้ มากกว่าการ
ตั้งครรภ์ในวัยผู้ใหญ่ (สุวชัย อินทรประเสริฐ และสุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, 2552) ทั้งนี้เนื่องจาก มารดาวัยรุ่น
ส่วนใหญ่ขาดความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงเป็นภาวะที่
วิกฤตซ้ำซ้อนกับภาวะวิกฤติเดิมที่มีอยู่ก่อนตามพัฒนาการของวัยรุ่น มากกว่าร้อยละ 65 ของวัยรุ่นผู้หญิงที่มี
ภาวะเสี่ยงทางสูติศาสตร์ จะมีผลกระทบร้ายแรงต่อ ชีวิตของ วัยร่นุ ในขณะตั้งครรภ์
ปัจจุบันสภาวะการตั้งครรภใ์ นวัยร่นุ มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสถานการณ์ของการตั้งครรภ์ที่
ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีการวางแผนการจะให้เกิดขึ้น การไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และ
การคุมกำเนิดที่ถูกต้อง การถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ก่อนการสมรส ตลอดจนความไม่พร้อมในด้าน
ภาวะต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ ความไม่รับผิดชอบของบิดาของเด็กในครรภ์ เป็นต้น ทำให้หญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มี
ความพร้อมในขณะตั้งครรภ์จะรีบมาฝากครรภ์ แต่กว่าวัยรุ่นจะมาฝากครรภ์บางครั้ง จะมาฝากครรภ์ในขณะ
อายุครรภ์เยอะ เนื่องมาจากวัยรุ่นไม่มีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ และไม่กล้าบอกผู้ปกครองจะบอกต่อเมื่อ
อายุครรภ์มากแล้ว ส่วนวัยรุ่นบางส่วน เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ แต่ไม่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ต่อ และไม่กล้าที่
จะบอกผู้ปกครอง จากการทบทวนเวชระเบียนของงานบริการปรึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัย
ที่ 3 นครสวรรค์ พบว่า วัยรนุ่ ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมพยายามหาวิธีการยุติการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง โดยไปซื้อยา
เหน็บมาเหน็บด้วยตนเอง หรือไปหาคลินิกเถื่อนเพื่อยุติการตั้งครรภ์ ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนหลังยุติการ
ตั้งครรภ์
แนวทางการให้การปรึกษาเดิม ใช้แนวทางการปรึกษาพื้นฐาน อาจไม่สอดคล้องกับปัญหาและความ
ต้องการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น รวมทั้งผู้ให้การปรึกษา ยังปฏิบัติไม่เหมือนกัน งานบริการปรึกษาจึงพัฒนา
แนวทางการบริการปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้มีมาตรฐานในการบริการปรึกษา
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
เพื่อพัฒนาแนวทางการให้บริการปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้มีมาตรฐาน
งานบริการปรึกษา59.compressed.pdf |
ขนาดไฟล์ 245KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |