กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการผ่าตัดของงานจ่ายกลาง
หน่วยงาน งานจ่ายกลางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
รายชื่อผู้จัดทำ
1. นางสาวมนัสนันท์ ลิ้มเจริญ
2. นางอำพรรณ ป้อมแก้ว
3. นางสาลี่ รกั วัด
4. นางแก้ว ปานรอด
5. นางสาวปราณี ดวงพันธ์
6. นางสาวศศิกัญญา พุ่มเกษม
7. นางปิยาภรณ์ วิเชียร
8. นางบงั อร ทับทัน
9. นางวชิ ญาภรณ์ ครุฑธา
เหตุผลและที่มา
งานจ่ายกลางเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญหน่วยหนึ่งของโรงพยาบาล เป็นศูนย์กลางของการ
รวบรวมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานแล้ว เข้าสู่กระบวนการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อก่อนนำไปใช้ในการ
ตรวจรักษาผู้ป่วย มาตรฐานในการดำเนินงานของหน่วยงานจ่ายกลางนั้น อุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิดต้องผ่าน
กระบวนการล้างทำความสะอาด และจัดชุดเครื่องมือฯ ที่หน่วยงานจ่ายกลาง จากการดำเนินงานที่ผ่านมา งานจ่าย
กลางได้ทำคู่มือการจัดชุดเครื่องมือห้องผ่าตัดบางประเภทแล้ว เช่น ชุดเครื่องมือผ่าตัดคลอด ( Set C/S ) และ ชุด
เครื่องมือทำหมัน ( Set TR ) แต่นอกจากชุดเครื่องมือทั้ง 2 ชุดแล้ว ยังมีชุดเครื่องมือของห้องผ่าตัดอีกหลายประเภท
ที่ส่งมายังหน่วยจ่ายกลางแล้วเกิดปัญหาว่าเจ้าหน้าที่จ่ายกลางไม่สามารถจัดชุดเครื่องมือได้ เพราะเป็นชุดที่ไม่ได้ใช้
บ่อย จึงทำให้ต้องรอเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด มาจัดเอง หรือหัวหน้าแผนกจ่ายกลางเป็นคนจัด และถ้าเจ้าหน้าที่ที่กล่าว
มาไม่อยู่ จะทำให้เกิดความล้าช้าในการจัดชุดเครื่องมือดังกล่าว เช่น ชุดเครื่องมือที่ผ่าตัดเกี่ยวกับสูตินารีเวช เช่น
Repair , TAH และชุดเครื่องมือเด็ก เช่น Major , Minor งานจ่ายกลางจึงเห็นความสำคัญของการพร้อมใช้ของ
เครื่องมือห้องผ่าตัด จึงได้คิดจะต่อยอดโดยการทำคู่มือการจัดชุดอุปกรณ์ในการผ่าตัดชุดสูตินารีเวช และ ชุดผ่าตัด
เด็ก ไว้เพื่อเจ้าหน้าที่จ่ายกลางจะได้ทำการจัดชุดเครื่องมือได้
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
เพื่อให้เจ้าหน้าที่จ่ายกลางจัดชุดเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ของห้องผ่าตัดทุกชนิดที่ส่งมาได้
ถูกต้องและครบถ้วน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ชุดเครื่องมือห้องผ่าตัดทุกชนิดที่ส่งมายังงานจ่ายกลางได้เข้าสู่กระบวนการทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ
โดยไม่เกิดความผิดพลาดและครบถ้วนในการจัดทำชุดและพร้อมใช้งาน
กระบวนการจัดการความรู้ / การสร้าง และแสวงหาความรู้
การเรียนรู้ จากการที่งานจ่ายกลางได้ดำเนินการจัดทำคู่มือการจัดชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการผ่าตัด
คลอด ( C/S) และชุดทำหมัน ( TR)นั้น ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือที่ใช้ประจำผลลัพธ์ที่ได้ คือไม่เกิดความผิดพลาดในการจัด
ชุดเครื่องมือดังกล่าว แต่ยังมีปัญหาในการจัดชุดเครื่องมือห้องผ่าตัด ที่นานๆ ใช้ เช่นเครื่องมือที่เกี่ยวกับสูตินารีเวช
Repair , TAH และชุดเครื่องมือเด็ก เช่น Major , Minor ซึ่งเจ้าหน้าที่จ่ายกลางจะทำการจัดชุดเครื่องมือดังกล่าว
ได้ จึงต้องรอเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด หรือหัวหน้าจ่ายกลางเป็นผู้จัด ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการไม่พร้อมใช้ของเครื่องมือ
จึงได้ทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหาว่าจะมีวิธีใดที่จะทำให้เจ้าหน้าทีจ่ายกลางจัดชุดเครื่องมือได้ โดยมี
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นระยะ ๆ ดังนี้
งานจ่ายกลาง59.compressed.pdf |
ขนาดไฟล์ 316KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |