คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาระบบบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.09.2567
3
0
แชร์
19
กันยายน
2567

ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
หัวหน้าโครงการ นางนัยน์ปพร หัวดง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานคัดกรอง ฉุกเฉิน และ
ตรวจโรคเด็ก
สมาชิกกลุ่ม
3.1. ที่ปรึกษาคุณเอื้อ นางสาวเตือนใจ แก้วสารพัดนึก หัวหน้างาน
3.2 คุณอำนวย นางนัยน์ปพร หัวดง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.3 คุณกิจ สมาชิกกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. เจ้าหน้าที่ งานคัดกรอง ฉุกเฉินและตรวจโรคเด็ก
2. เจ้าหน้าที่งานตรวจสุขภาพเด็กดี
3. เจ้าหน้าที่งานการเงิน
4. เจ้าหน้าที่แผนกเภสัชกรรม

การทบทวนการจัดการความรู้
ในการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครสวรรค์ นอกจาก
ห้องฉีดยาแล้วยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการหลายหน่วยงาน เช่น ห้องตรวจสุขภาพเด็กดี
แผนกเภสัชกรรม และการเงิน เป็นต้น สำหรับปัญหาที่พบในการให้บริการนอกจากปัญหาเกี่ยวกับ
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน ยังมีปัญหาที่เกิดจากการบริหารวัคซีนของหน่วยงานที่ให้บริการซึ่ง
ครอบคลุมทั้งชนิดของวัคซีนที่ให้บริการที่มีทั้งชนิดฟรี และชนิดเสียเงิน การสื่อสารระหว่างหน่วยงาน
การควบคุมคุณภาพวัคซีน เป็นต้น อย่างไรก็ตามอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ไม่ได้มีสาเหตุจากจากวัคซีนเพียงอย่างเดียว อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการบริหารจัดการ เกิดจากความ
ผิดพลาดของการเก็บ การขนส่ง และการฉีดวัคซีน มักสัมพันธ์กับผู้ให้บริการวัคซีน อาจพบผู้ป่วยเพียง
รายเดียวหรือเป็นกลุ่ม ความผิดพลาดที่พบ ได้แก่ การเตรียมวัคซีนผิดวิธี การขนส่งจัดเก็บไม่ถูกต้อง
การฉีดวัคซีนผิดตำแหน่ง ฉีดในรายที่มีข้อห้ามฉีด การใช้เข็มและกระบอกฉีดที่ไม่สะอาด จะทำให้เกิด
การติดเชื้อ ความผิดพลาดที่เกิดจากเทคนิคการฉีด ในปีที่ผ่านมา พศ. 2558 พบอุบัติการณ์ที่มีความ
เสี่ยงสูง ของหน่วยงานคือเด็กได้รับการฉีดวัคซีนวัคซีนไม่ถูกต้องตามคำสั่งจำนวน 5 ครั้ง จากเด็กที่มา
รับบริการ 1,2,646 ราย คิดเป็น 0.039% และส่วนใหญ่เป็นวัคซีนเผื่อเลือกชนิดที่ผู้รับบริการเสีย
เงินเองทำให้โรงพยาบาลต้องสูญเสียงบประมาณในการดำเนินการป้องกันการร้องเรียน ดังนั้นเพื่อเป็น
การปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หน่วยงานจึงการพัฒนาระบบ
บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยคัดเลือกการพัฒนาระบบป้องกันความผิดพลาดในการฉีดวัคซีน
มาเป็นอันดับแรกเพราะมีความเสี่ยงสูง ต่อการร้องเรียน ฟ้องร้องค่าเสียหายจากผู้รับบริการได้

วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1. พัฒนาระบบบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก
2 เด็กที่มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ได้รับวัคซีนถูกต้อง
3. ผู้ปกครองและญาติมีความพึงพอใจในระบบบริการ
4. ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในระบบบริการ

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

งานคัดกรองฉุกเฉินตรวจโรคเด็ก59.compressed.pdf
ขนาดไฟล์ 475KB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน