กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง ความพึงพอใจของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ต่อการสื่อสารภายในองค์กร
หน่วยงาน กลุ่มจัดการความรู้และการศึกษาด้านสุขภาพ
รายชื่อผู้จัดทำ
1.นางนัดดา วิรัติสกุล
2.นางมณฑวรรณ ยุชังกูล
3.นางสาวนันทินี อุทัยวรรณ์
4.นางกัญญารัตน์ คงประกอบ
5.นางสาวขวัญตระกูล บุตรพรหม
6.นายธนวัชร์ อังรัตสกุล
7.นางสาววาสนา ทองเงิน
8.นางสาวทัศน์ดาว พ่วงชัง
9.นายนัฐพล ภู่ศรีพงษ์
10.นางวัฒนา เพ็งสุข
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรศูนย์ฯ ต่อการสื่อสารภายในองค์กร
2. เพื่อศึกษาการเข้าถึงช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร
3. เพื่อศึกษาการรับรู้และความทันต่อเวลาในการรับข้อมูลข่าวสารของบุคลากรศูนย์ฯ
เหตุผลและที่มา
ในปัจจุบันพบว่าการสื่อสารภายในองค์กรนับเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กรให้เกิด
ประสิทธิภาพ เนื่องจากการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการเป็นตัวถ่ายทอดความต้องการ ความคิด ทัศนะ
หรือวัตถุประสงค์ไปยังบุคคลต่อบุคคล กลุ่มต่อกลุ่ม หรือบุคคลต่อกลุ่ม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเป้าหมาย
ร่วมกัน ทั้งนี้ยังส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นไปอย่างสอดคล้อง มีประสิทธิภาพและตรงกับ
วัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งหากเกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดจะส่งผลกระทบต่อการบรรลุประสิทธิผลขององค์กร
จึงเห็นได้ว่าการสร้างระบบการสื่อสารภายในองค์กรที่ดีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก และสามารถสร้างความ
พึงพอใจในการสื่อสารแก่บุคลากรด้วย
การสื่อสารภายในองค์กรของศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ นั้นมีการสื่อสารค่อนข้างหลากหลายช่องทาง
บุคลากรของศูนย์ฯ สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ทั้งแบบเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน
ได้แก่ ระบบหนังสือเวียนผ่าน Intranet หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย/งาน เอกสารหนังสือเวียน โทรศัพท์ภายใน บอร์ด
ประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย Desktop Facebook Line และจากเพื่อนร่วมงาน แต่พบว่ายังคงมีบุคลากร
บางส่วนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางการสื่อสารข้างต้นได้ โดยปัจจัยแวดล้อม ในการ
สื่อสารของศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ที่ส่งผลทำให้บุคลากรพลาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารขององค์กรผ่านช่อง
ทางการสื่อสาร ได้แก่ 1)ไม่เปิดหนังสือเวียนผ่านระบบ Intranet เพราะเหตุบางประการที่เป็นข้อจำกัดการเข้าถึง
ข้อมูล เช่น ไม่มีเวลาเปิดเข้าระบบ เนื่องจากบุคลากรบางส่วนมีภารกิจต้องเดินทางไปทำงานในพื้นที่อื่น และ
บุคลากรบางระดับยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบหนังสือเวียนผ่าน Intranet ได้ 2) หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย/งาน/เพื่อน
ร่วมงาน บางหน่วยงานบุคลากรมีการเข้าเวร และบางส่วนออกไปทำงานในพื้นที่อื่นที่ไม่สามารถติดต่อกันได้
ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้การส่งข้อมูลข่าวสารจากหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย/งาน ไม่ไปถึงทุกคนในกลุ่มงานของตนเองได้
3) บอร์ดประชาสัมพันธ์ สภาพปัญหาการจราจรในอำเภอเมืองนครสวรรค์ที่มีจำนวนรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ส่งผล
ให้การเดินทางมาทำงานของบุคลากรศูนย์ฯ มีความเร่งรีบในการเดินทางและเร่งรีบในการเซ็นชื่อเข้าทำงาน
ส่งผลให้ไม่ได้สนใจบอร์ดประชาสัมพันธ์ที่ได้มีการติดประชาสัมพันธ์ไว้ที่จุดเซ็นชื่อ 4) เสียงตามสายเป็นการ
สื่อสารภายในที่รวดเร็ว แต่สภาพการทำงานของศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ที่มีส่วนของโรงพยาบาล ซึ่ง
ให้บริการในช่วงเช้าทำให้มีการปิดลำโพงเพื่อไม่ให้รบกวนการให้บริการ และการให้คำปรึกษากับผู้รับบริการ จน
ลืมเปิดลำโพงในช่วงบ่าย ทำให้พลาดข้อมูลข่าวสารที่เร่งด่วนได้ 5) Desktop เป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ผ่านระบบ Lan ของหน่วยงานซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกตัวที่ถูกต่อเข้าระบบสาย Lan จะเห็นข้อมูลข่าวสารผ่านหน้า
จอคอมพิวเตอร์ จะมองเห็นก็ต่อเมื่อตอนเปิดเครื่องและไม่ได้เปิดใช้งานโปรแกรมอื่นอยู่เท่านั้น 6) Facebook
/ Line Group เป็นการสื่อสารผ่าน Social Network ที่รวดเร็วและแพร่หลาย แต่จะมองเห็นเฉพาะคนที่เป็น
เพื่อนกันหรือภายในกลุ่มเท่านั้น
จากช่องทางการสื่อสารที่มีความหลากหลาย และจากการสังเกตในกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ที่มี
การจัดประชุมในเดือนธันวาคม 2558 มีการประชุมภายในศูนย์ฯ จำนวน 2 เรื่องพบว่าบุคลากรบางส่วนยังคง
พลาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในบางเรื่องต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถรับรู้ข้อมูล
ข่าวสารผ่านช่องทางการสื่อสารดังกล่าวแล้ว ย่อมก่อให้เกิดผลเสียหายต่อระบบการทำงานขององค์กร รวมไป
ถึงการบริหารจัดการองค์กรก็จะไม่เกิดประสิทธิภาพเช่นกัน
จากความสำคัญดังกล่าว กลุ่มฯตระหนักว่าการสื่อสารเป็นกลยุทธ์หรือกระบวนการหรือเครื่องมือที่จะ
นำไปสู่ความเข้าใจในการติดต่อและการทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมาย แต่หากไม่
เรียนรู้และไม่เข้าใจความต้องการของตนเอง ไม่เข้าใจผู้อื่นแล้ว แม้ว่าจะมีกระบวนการสื่อสารที่ดี และมีอุปกรณ์
สื่อสารที่ทันสมัยเพียงใดก็ไร้คุณค่าเช่นกัน ความพึงพอใจในการสื่อสารขององค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญและสมควร
เรียนรู้อย่างมาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการสื่อสาร ตลอดจนสามารถ
นำไปพัฒนางานเพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้ความ
พึงพอใจของบุคลากรต่อการสื่อสารภายในองค์กรด้วย
กลุ่มจัดการความรู้59.compressed.pdf |
ขนาดไฟล์ 166KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |