คุณกำลังมองหาอะไร?

รา

รายงานผลการจัดการความรู้ เรื่อง “21 วัน เปลี่ยนชีวิต พิชิต Office Syndrome”

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.09.2567
2
0
แชร์
19
กันยายน
2567

ชื่อเรื่อง 21 วัน เปลี่ยนชีวิต พิชิต Office Syndrome กลุ่มการพยาบาล
หัวหน้าโครงการ คุณธนาพร กิตติเสนีย์
สมาชิกกลุ่ม
1. คุณพิมพ์ชนก แพสุวรรณ คุณเอื้อ
2 คุณธนาพร กิตติเสนีย์ คุณอำนวย
3 คุณสิรินันท ธิติทรัพย์ คุณกิจ
4 คุณรุ่งรัศมี แก้วมั่น คุณกิจ
5 คุณพรทิพย์ โชคทวีพาณิชย์ คุณกิจ
6 คุณพิชชากานต์ วิเชียรกัลยารัตน์ คุณกิจ
7 คุณณภาภัช พรมเขียว คุณกิจ
8 คุณพิณพัฒน์ โพธิ์สอน คุณกิจ
9 คุณศรีรัตน์ ทองแป้น คุณกิจ
เหตุผลและที่มา
จากการทบทวนปัญหาที่ผ่านมาของสำนักงานกลุ่มการพยาบาล พบประเด็นปัญหา 3 เรื่องหลัก ๆ
ที่ต้องการพัฒนา ได้แก่ เรื่องการประหยัดพลังงาน ความเสี่ยงในหน่วยงาน และ การพบอาการปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อจากการทำงานหรือ "โรคออฟฟิศ ซินโดรม" ของบุคลากรกลุ่มการพยาบาล จึงได้มีการประชุม
ปรึกษาหารือในการเลือกเรื่องที่ต้องการพัฒนาและแก้ปัญหาร่วมกันเป็นลำดับแรก จึงได้ข้อสรุปออกมาว่า
ต้องการแก้ปัญหา "โรคออฟฟิศ ซินโดรม" ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของบุคลากรกลุ่มการพยาบาล ในระยะยาว
และได้รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคนี้
"โรคออฟฟิศ ซินโดรม" (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนทำงานสำนักงาน
เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีอิริยาบถในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งนาน หลังค่อม รวมถึง
การจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ เช่น
หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งหากเป็นมากอาจก่อให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกอักเสบได้อีกด้วย สำหรับ
สาเหตุของการเกิดภาวะนี้เกิดจากอิริยาบถในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น นั่งไขว่ห้าง นั่ง/ยืนหลังงอ นั่งขาลอย
จากพื้นหรือขาไม่ทำมุม 90 องศา เป็นต้น รวมถึงสิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เอื้อต่อการมีอิริยาบถที่เหมาะสม
เช่น จอคอมพิวเตอร์ไม่อยู่ในระดับสายตา คีย์บอร์ดอยู่ในตำแหน่งที่ข้อศอกไม่ทำมุม 90 องศา เป็นต้น วิธี
ป้องกันโรค Office Syndrome ให้ได้ผลดี มีหลักสำคัญ 3 ประการ สิ่งสำคัญประการแรก ทำได้โดยการปรับ
สภาพแวดล้อม ตำแหน่งเก้าอี้ โต๊ะทำงาน หรือคอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสม ประการที่สอง สร้างความยืดหยุ่น
ให้แก่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบริเวณแขนและมือเพื่อป้องกันผลกระทบ และประการ
สุดท้าย ได้แก่ การสร้างลักษณะนิสัยของการมีอิริยาบถในการทำงานที่เหมาะสม
เมื่อได้องค์ความรู้เกี่ยวกับอาการและสาเหตุแล้ว จึงทำการรวบรวมปัญหา สาเหตุของการเกิด Office
Syndrome และระดับความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยใช้แบบสำรวจสาเหตุของการเกิด Office Syndrome
พบว่า บุคลากรในสำนักงานกลุ่มการพยาบาล มีกลุ่มที่มีอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง ต้องได้รับการบรรเทาอาการ
ปวดเมื่อยโดยการนวดประคบบรรเทาอาการเป็นระยะ ๆ ร้อยละ 33.3 ซึ่งในกลุ่มนี้มีอาการ นิ้วล็อกจากการใช้
คอมพิวเตอร์นานเกินไปด้วย และอีกกลุ่มหนึ่งจะมีอาการปวดเมื่อยเป็นครั้งคราว ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้จะมีอาการ
ปวดเมื่อยมากขึ้นและเรื้อรังจนต้องได้รับการบำบัด ร้อยละ 55.6 และมีส่วนน้อยที่ยังไม่มีอาการแต่อิริยาบถใน
การทำงานยังไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลต่อการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อในระยะต่อไปได้ ร้อยละ 11.1 สำหรับ
การวัดระดับความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ (ใช้เครื่องมือ Visual analog scale วัดระดับความปวดเมื่อย
โดยคะแนน 0 หมายถึง ไม่ปวดเมื่อยเลย และคะแนน 10 หมายถึงปวดเมื่อยมากที่สุด) พบว่าเจ้าหน้าที่มีระดับ
ความปวดเมื่อยสูงสุด เท่ากับ 7.2 และต่ำสุดเท่ากับ 1.7 ค่าความปวดเมื่อยเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 สำหรับสาเหตุ
ของการเกิด Office Syndrome พบว่าเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้แก่ คีย์บอร์ดอยู่ในตำแหน่งที่
ข้อศอกไม่ทำมุม 90 องศา มากที่สุด ร้อยละ 66.6 รองลงมาเป็นที่รองแขนอยู่ในตำแหน่งสูง/ต่ำกว่าข้อศอก
ร้อยละ 55.5 สำหรับสาเหตุจากอิริยาบถในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การนั่งหลังไม่ชิดพนักเก้าอี้ และ
ท่าในการใช้เมาส์โดยไม่พักข้อศอกบนที่รองแขน พบมากที่สุด ร้อยละ 55.5 รองลงมาเป็น นั่งหลังงอ
และยืนห่อไหล่/หลังค่อม ร้อยละ 44.4 นอกจากนั้นยังมีสาเหตุจากความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ได้แก่ มีการ
เกร็งกล้ามเนื้อท่าเดิมนาน ๆ พบว่าทำเป็นประจำ ร้อยละ 11.1 ทำนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ ร้อยละ 55.5 และไม่มี
การพัก/ผ่อนคลายกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน พบเป็นประจำ ร้อยละ 33.3 ทำนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ 44.4
จากปัญหา สาเหตุของการเกิด Office Syndrome ดังกล่าว ทางสำนักงานกลุ่มการพยาบาลจึงเห็น
ความสำคัญในการปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมในการทำงานตามปัญหาที่พบรายบุคคล และปรับเปลี่ยน
ลักษณะนิสัย/อิริยาบถในการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรม ซึ่งพบว่ามีหลายทฤษฏี เช่น ทฤษฎีนิสัยใน 21 วัน (21-Day Habit Theory) ของ Dr. Maxwell
Maltz ซึ่งเขียนลงในหนังสือ Psycho-Cybernetics, การใช้แรงเสริมเพิ่มความแข็งแกร่งในพฤติกรรม ของ
Skinner, ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant Conditioning) ของ Burrhus F. Skinner
เป็นต้น เมื่อนำทฤษฎีทั้งหมดที่รวบรวมได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า ทฤษฎีนิสัยใน 21 วัน (21-Day Habit
Theory)ของDr. Maxwell Maltz เป็นทฤษฎีที่เข้าใจและนำมาปฎิบัติได้ง่ายที่สุด วัดผลได้เร็วกว่าทฤษฎีอื่น ๆ
ดังนั้นจึงเลือกทฤษฎีนี้มาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้แต่ละคนกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการจะ
ปรับเปลี่ยนของตนเอง เพื่อให้มีอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง แล้วบันทึกการปฏิบัติให้ต่อเนื่องอย่างน้อย
21 วัน ถ้าทำยังไม่ได้ให้เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ จนสามารถที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นได้ หลังจากนั้นจะ
ทำการสำรวจถึงพฤติกรรม และระดับความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเทียบกับตอนที่
ยังไม่มีการปรับเปลี่ยน
วัตถุประสงค์
1) เพื่อจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้เหมาะสมในการทำงานของบุคลากรกลุ่มการพยาบาล
2) เพื่อลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากกลุ่มอาการ Office Syndrome
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) บุคลากรกลุ่มการพยาบาลมีอิริยาบถที่เหมาะสมในการทำงาน
2) บุคลากรกลุ่มการพยาบาลมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากกลุ่มอาการ Office Syndrome ลดลง
ตัวชี้วัด
1) มีแผนการปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้เหมาะสมในการทำงาน ของบุคลากรกลุ่มการพยาบาล 1 แผน
2) ร้อยละ 80 ของบุคลากรกลุ่มการพยาบาลมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้เหมาะสมในการทำงาน
3) ร้อยละ 80 ของบุคลากรกลุ่มการพยาบาล ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากกลุ่มอาการ Office
Syndrome มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดลง
4) ร้อยละ 50 ของสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมในการทำงาน

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มการพยาบาล59.compressed.pdf
ขนาดไฟล์ 321KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน