กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อ พัฒนารูปแบบการสอนบีบเก็บน้้านมในมารดาที่ลูกอยู่แผนกบริบาลทารกแรกเกิด(NICU)
หัวหน้าโครงการ
นางสาว วิราวรรณ์ วัชรขจร พยาบาลวิชาชีพชานาญการ
สมาชิกกลุ่ม
1. นางศัสยมน ปรางค์โท้
2. นางรัชนี วีระวงศ์
3. นางสาวสาริศา สืบจากดี
4. นางสาวเรณู สุขแจ่ม
5. นางสุนธะ ทองเอี่ยม
6. นางนลัทพร พรมพินิจ
7. นางสาวภัทราพร ทองสังข์
8. นางสาววาสนา เงินม่วง
9. นางสาวจิราพร วงศ์นิคม
10. นางสาวรมิตา บุญยัง
11. นางสาวภุมรินทร์ จันทราช
การทบทวนการจัดการความรู้ (BAR)
จากการสารวจสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกรมอนามัยในปี 2552 พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเพิ่มขึ้นจากร้อยและ 16.3 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 29.6 ในปี 2552 ซึ่งเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายของประเทศไทย เพราะยังมีแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยอีกกลุ่มหนึ่ง ที่สาคัญคือแม่ที่มีลูกป่วยเพราะในแต่ละปีประเทศไทยมีเด็กทารกแรกเกิดที่จาเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจานวนมาก ทั้งทารกที่คลอดก่อนกาหนด ทารกที่ป่วยต้องอยู่ในแผนกบริบาลทารก(NICU) ทารกที่ได้รับการผ่าตัด หรือเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เด็กกลุ่มนี้มีโอกาสถูกแยกแม่-ลูก หรือถูกสั่งให้งดนมแม่ด้วยเหตุผลต่างๆ ทาให้ขาดโอกาสที่จะได้รับอาหารที่มีคุณค่าและมีความสาคัญที่สุดในชีวิต
มีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงพลังของนมแม่ ที่บ่งชี้ว่าน้านมแม่ได้ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณค่าต่อสุขภาพของทารกที่ป่วยอย่างดียิ่ง นมแม่เปรียบเสมือนการรักษา มีความสาคัญเหมือนกับเป็นเครื่องช่วยหายใจ มีความสามารถที่จะปกป้องเด็กทารกได้เมื่ออยู่ในห้อง NICU และจาเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์และพยาบาลจะต้องให้เด็กที่ป่วยได้รับการเลี้ยงดูด้วยน้านมแม่ เพราะนมแม่สามารถลดการติดเชื้อในเด็กป่วย นมแม่เป็นทั้งยาและภูมิคุ้มกันที่นมผงไม่สามารถทดแทนได้ นมแม่ยังมีส่วนสาคัญต่อการพัฒนาการด้านสมองรวมไประบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเด็กที่ป่วยหรือคลอดก่อนกาหนด และนมแม่ยังจะทาให้เด็กที่ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้เร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่ จากการเก็บข้อมูลในแผนกสูติกรรมและ NICU พบว่า มีจานวนมารดาที่คลอดบุตรในปี 2557 ทั้งหมดจานวน 1,293 ราย มีจานวนทารกที่มีความเจ็บป่วยและต้องแยกกับมารดาไปอยู่แผนก NICU จานวนทั้งหมด 553 ราย คิดเป็น 42.76% แผนกสูติกรรมเห็นความสาคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามบันได 10 ขั้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กป่วย(“Breast Feeding Sick Babies” ) ในบันไดขั้นที่2 Establishment and
Maintenance of Milk Supply เป็นความรู้และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งน้านมแม่สาหรับให้กับเด็กป่วยในกรณีต่างๆ และบันไดขั้นที3 Human Milk Management คือ วิธีการเก็บและใช้น้านมแม่ในการเลี้ยงดูเด็กป่วยที่ถูกต้องและเหมาะสม
ในมารดาที่ลูกอยู่แผนกบริบาลทารกแรกเกิด ทางแผนกสูติกรรมได้เริ่มสอนวิธีการกระตุ้นบีบเก็บน้านมมารดาตั้งแต่แรกรับย้ายฟักฟื้นในแผนก โดยใช้วิธีการสอนแบบรายบุคคล และเชิญเข้ากลุ่มรวมสอนอีกครั้งก่อนจาหน่ายกลับบ้านและมีการติดตามเป็นระยะๆ ภายในเวร 8 ชั่วโมง 1 ครั้ง ติดตามเพื่อให้ทราบว่ามารดาปฏิบัติบีบเก็บน้านมถูกต้องหรือไม่ และเป็นการกระตุ้นสร้างน้านมให้เร็วที่สุด เพื่อต้องการให้มารดาที่ทารกป่วยอยู่แผนกNICU สามารถบีบเก็บน้านมได้ถูกต้องและส่งนมบุตรให้ตรงเวลาและต่อเนื่อง
ปัญหาที่พบคือ หลังได้รับการสอนจากเจ้าหน้าที่ มารดายังปฏิบัติการบีบน้านม และระยะเวลาการบีบไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสาเหตุน้านมหลั่งช้า ในกรณีน้านมหลั่งแล้วเกิดปัญหาเต้านมคัดตึงเนื่องจากไม่ได้รับการบีบเก็บน้านมอย่างต่อเนื่อง
แผนกสูติกรรมเห็นความสาคัญ จึงพัฒนารูปแบบการสอนบีบเก็บน้านมในมารดาที่ลูกอยู่แผนกบริบาลทารกแรกเกิด(NICU) เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและช่วยส่งเสริมให้มารดาสามารถบีบเก็บน้านมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนบีบเก็บน้านมในมารดาที่ลูกอยู่แผนกบริบาลทารกแรกเกิด(NICU)
2. เพื่อให้มารดาสามารถบีบเก็บน้านมได้ถูกต้อง
nicu2-58.pdf |
ขนาดไฟล์ 762KB
ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |