คุณกำลังมองหาอะไร?

นึ่งหยดมหัศจรรย์พลิกผันชีวิตลูก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.08.2567
3
0
แชร์
13
สิงหาคม
2567

ชื่อเรื่อง หนึ่งหยดมหัศจรรย์พลิกผันชีวิตลูก
หน่วยงาน ผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่8 นครสวรรค์
รายชื่อผู้จัดทำ (ไม่จำกัดจำนวน)
1.นางนริศา ทิมศิลป์
2.นางสาวเยาวลักษณ์ กาญจนะ
3.นางวารี อรุณเรืองสวัสดิ์
4.นางสาวรุ่งฤดี ลิขิตพงศ์ธร
5.นางสาวปิยนุช อ่อนสด
6.นางสาวสำนวล คำแฝง
7.นางศรัญญา พลธรรม
8.นางสาวอัชรา โพธิ์ทัย
เหตุผลและที่มา(ในการคัดเลือกเรื่อง)
ตามที่ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เลีย้ งทารกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง
อายุ 6 เดือนนัน้ จากการศึกษาของ Diane L. Spatz, PhD RNC FAAN,and Taryn M. Edwards,
BSN RNC ประโยชน์ของนมมารดาและการเลีย้ งลูกด้วยนมมารดาจากการทบทวนเอกสาร
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง(American Academy of Pediatric, 2005; Ipet al, 2007) ทารกมีความ
เสี่ยงที่เริ่มต้นชีวิตของพวกเขาในหอผู้ป่ วยหนักทารกแรกเกิด อาจได้ประโยชน์มากที่สุดจากการที่
ได้รับนมมารดา
ดังนัน้ พยาบาลที่ทำงานในหอผู้ป่ วยหนักทารกแรกเกิดต้องจัดลำดับความสำคัญการ
ดูแลที่จะรวมถึงการให้ความช่วยเหลือมารดากับการเริ่มต้นและการบำรุงรักษาปริมาณนำ้ นม
ระยะเวลาในขณะที่ทารกยังไม่ได้ทานอะไรเป็นเวลาสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเก็บนำ้ นม
และการเก็บนมcolostrum ซึ่งเป็นนำ้ นมแรกที่ผลิตในระหว่างการตัง้ ครรภ์และภายใน 72 ชั่วโมง
ช่วงหลังคลอดและเก็บไว้สำหรับใช้ในอนาคต นำ้ นมเหลืองหรือ colostrum เป็นแหล่งอาหารที่มี
ความสำคัญมากกับชีวิตตัง้ แต่แรกเกิดซึ่งเปรียบได้เท่ากับวัคซีนธรรมชาติ หยดแรกของชีวิต
ประกอบไปด้วยโปรตีน กรดอะมิโน cytokines และอิมมูโนเอ ช่วยในการต้านการอักเสบและก่อน
เกิดการอักเสบ สำหรับนำ้ นมของมารดาช่วยปกป้ องทารกที่เสี่ยงต่อการติดเชือ้ จากตับอ่อนหลั่ง
Trypsin inhibitor(PSTI) ที่พบในนำ้ นมเหลืองและนำ้ นมที่ถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ (Marchbank,
Weaver, Nilsen-Hamilton. & Playford, 2009 (PSTI) ก็แสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกันการหลั่ง
เยื่อเมือกในกระเพาะอาหารและช่วยซ่อมแซมกระเพาะอาหาร เพราะความสำคัญของนม
colostrum พยาบาลต้องดูแลจัดเก็บนำ้ นมcolostrum และสอนสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับ
ความสำคัญของนมcolostrum โรดีกัวซ์และเพื่อนร่วมงาน (Rodriguez, Meier, Groer, & Zeller,
2008) ได้นำเสนอการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารจากปากและหลอดอาหารใน
ทารกแรกเกิดที่มีนำ้ หนักน้อยมาก (extremely-low- birth-weight infants) ซึ่งการดูแลในส่วนนีไ้ ม่
รวมถึงการกลืนหรือดื่มนม สำหรับกิจกรรมการพยาบาลหรือ intervention เกี่ยวกับปริมาณ
ของเหลวจะผ่านเข้าไปโดยตรงที่เยื่อบุช่องปากในช่องแก้มสำหรับการดูดซึมทางเยื่อบุทาง
mucosa จากแนวคิดทฤษฎีที่สนับสนุนระบบการดูดซึมอย่างเป็นระบบของ cytokines and PSTI
ผ่านทางช่องปากส่วนที่ถัดจากริมฝี ปากอยู่ระหว่างฟันกับแก้มมีต่อมที่บริเวณเยื่อบุข้างแก้มและ
ต่อมนำ้ ลาย (buccal cavity) ช่วยป้ องกันการติดเชือ้ ในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนัน้ แล้ว
นำ้ นมแม่เป็นแหล่งของโอลิโกแซ็กคาไรด์คาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ ตัง้ แต่ 2 ถึง
10 โมเลกุล มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก(glycosidic bond) ซึ่งมีเป็นจำนวนมากที่จะ
สามารถทำลายเชือ้ แบคทีเรีย ไวรัส และเชือ้ รา สำหรับการช่วยเหลือการให้นมจากปากของทารก
ที่มีการดูดนมจากเต้านมโดยตรงและอย่างต่อเนื่องควรบริหารปากทารกก่อนดูดนมหรือก่อน feed
ทางปากหรือก่อนให้อาหารทางสาย พยาบาลจะต้องช่วยให้เด็กได้รับประโยชน์ที่เหมือนกันทัง้ จาก
ทารกที่ได้รับการป้ อนนมและทารกที่ดูดนมจากมารดา การดำเนินการแบบนีใ้ นหอผู้ป่ วยเป็นเรื่อง
ที่ค่อนข้างง่าย ซึ่งเราจะขอให้คุณแม่นำนมที่ได้มาใหม่ที่ไม่แช่เย็นคือ Colostrum ไปที่หอผู้ป่ วย
ทารกแรกเกิดเพื่อการดูแลช่องปากก่อนนำนมไปแช่เย็น ซึ่งColostrum และนมแม่ที่สมบูรณ์นัน้
สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานถึง 48 ชั่วโมง และสามารถนำไปทำเป็นอาหารเหลวผ่านทางสายให้
อาหาร พยาบาลสอนข้างเตียงทัง้ พ่อและแม่ถึงวิธีการดูแลช่องปากด้วยนม Colostrum หรือนำ้ นม
ที่สมบูรณ์ ใช้ไม้พันสำลีที่ผ่านการฆ่าเชือ้ แล้วจุ่มลงไปที่นำ้ นมเหลืองซึ่งจะซับนำ้ นมจนเพียงพอ
จากนัน้ พ่อแม่ใช้ไม้พันสำลีเข้าไปทำความสะอาดบริเวณกระพุ้งแก้มโดยรอบด้วยนำ้ นมเหลือง วิธี
นีส้ ามารถทำได้สำหรับทารกที่ NPO หรือทารกที่ยังวิกฤติที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและช่วยหายใจ
อย่างน้อยการดูแลช่องปากด้วยนมของมารดา (นม Colostrum หรือนำ้ นมที่สมบูรณ์) ควรทำทุก
วันหากมารดาสามารถปั๊มนมได้ที่ข้างเตียงในหอผู้ป่ วยทารกแรกเกิด การดูแลช่องปากสามารถ
ทำได้ทุก 2-3 ชั่วโมงของการปั้มนมในแต่ละรอบ (session) ในแต่ละครัง้ ของการดูแลช่องปากด้วย
นมของมารดาทำโดยการจุ่มจุกนม หากทารกไม่สามารถดูดเองได้ที่เต้านม การดูแลช่องปาก
จะต้องทำต่อเนื่องจนกระทั่งทารกสามารถได้รับอาหารทางปากได้หรือรับจากเต้านมและ/หรือจาก
ขวด องค์ความรู้ที่มีในการวิจัยจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชือ้ และป้ องกันการเกิดอันตราย
ต่อเยื่อบุในระบบทางเดินอาหารระหว่างที่ทารกยังอยู่ระหว่าง NPO นอกจากนัน้ แล้วยังพบว่าทารก
ชื่นชอบกับการดูแลช่องปากด้วยการดูดนมมารดาและพ่อแม่เองก็ยินดีสำหรับโอกาสในการดูแล
ทารกที่เจ็บป่วยหนักที่มีมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด
ในงานผู้ป่ วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์
ยังไม่ได้มีการศึกษาการดูแลช่องปากทารกด้วยนำ้ นมColostrum ของมารดา การดำเนินงานจะ
ขอให้แม่เก็บนำ้ นม Colostrum ที่ได้มาใหม่ไปที่แผนกผู้ป่ วยหนักทารกแรกเกิดเพื่อการดูแลช่อง
ปากทารกในกลุ่มอาการทารกที่เจ็บป่ วย ในศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ จะช่วยลดความเสี่ยงของ
การติดเชือ้ และป้ องกันการเกิดอันตรายต่อเยื่อบุในระบบทางเดินอาหารระหว่างที่ทารกยังอยู่
ระหว่าง NPO
ดังนัน้ งานผู้ป่ วยหนักทารกแรกเกิด กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่ 8 โดยมีนโยบายด้านการส่งเสริมการเลีย้ งลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน
มีการให้พยาบาลสอนพ่อและแม่ถึงวิธีการดูแลช่องปากด้วยนม Colostrum ใช้ไม้พันสำลีที่ผ่าน
การฆ่าเชือ้ แล้วจุ่มลงไปที่นำ้ นมColostrumซับนำ้ นมจนเพียงพอ จากนัน้ พ่อแม่ใช้ไม้พันสำลีเข้าไป
ทำความสะอาดบริเวณกระพุ้งแก้มโดยรอบด้วยนม Colostrum ในกลุ่มอาการทารกมีภาวะหายใจ
ลำบากที่ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ทำได้ทุก2-3 ชั่วโมงในแต่ละครั้งของการดูแลช่องปากด้วยนม
มารดา การดูแลช่องปากจะต้องทำต่อเนื่องจนกระทั่งทารกสามารถได้รับอาหารทางปากได้หรือรับ
จากเต้านมมารดา
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1.เพื่อศึกษาสัมพันธภาพครอบครัวในแผนกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่8 นครสวรรค์
2.เพื่อลดความไม่สุขสบายของมารดาจากการเจ็บเต้านม
3.เพื่อวัดความพึงพอใจต่อการทำความสะอาดช่องปากทารกของบิดา มารดา และครอบครัว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.สัมพันธภาพระหว่างครอบครัวในแผนกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่8 นครสวรรค์ดีขึน้ มากกว่า ร้อยละ80
2.มารดาได้รับความสุขสบาย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดจากการเจ็บเต้านม
3.ความพึงพอใจต่อการทำความสะอาดช่องปากทารกของบิดา มารดา และครอบครัว

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

หนึ่งหยดมหัศจรรย์พลิกผันชีวิตลูก NICU.pdf
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน