กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง ประสิทธิผลของการเตรียมความพร้อมก่อนบล็อกหลังเพื่อรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยใช้ภาพพลิก
หน่วยงาน วิสัญญี
รายชื่อผู้จัดทำ
1. นางวารุณี พู่พิสุทธิ์
2. นางภาณินี สธนพานิชย์
3. นางณพิชญา งดงามทวีสุข
4. นางสาวโสพิศ หาระดี
5. นางสิรินทร์ทิพย์ สุขเกษม
เหตุผลและที่มา
การผ่าตัดคลอด (Cesarean-section) เป็นวิวัฒนาการสำคัญทางสูติศาสตร์ นับเป็นหัตถการที่มีความ
จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถคลอดได้เองทางช่องคลอดอย่างปลอดภัย เช่น ทารกมีส่วน
นำเป็นก้น ทารกมีภาวะเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดคลอดเป็นการช่วยให้กระบวนการตาม
ธรรมชาติในการให้กำเนิดชีวิตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันตามมาตรฐานที่เป็น ที่ยอมรับกันทั่วโลก
สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะเร่งด่วนนั้น โดยแพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสัน
หลัง (บล็อกหลัง) ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้รับบริการมีความปลอดภัยสูง ผู้รับบริการไม่ต้องเสี่ยงต่อการดมยาสลบ
ฟื้นตัวได้เร็วและที่สำคัญผู้รับบริการสามารถได้ชื่นชมลูกได้ในทันทีที่ทารกคลอด (จริยา เลิศอรรฆยมณี, 2543)
จากสถิติการคลอดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ปี 2553 พบว่า มีผู้รับบริการ
ผ่าตัดคลอด จำนวน 980 คิดเป็นอัตราร้อยละ 49 (งานห้องคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ, 2553) และปี
2554 มีผู้รับบริการผ่าตัดคลอด จำนวน 575 ราย คิดเป็นร้อยละ 38 (งานห้องคลอด โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพ, 2554) นอกจากนี้ ปี 2553 มีผู้รับบริการที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องได้รับการระงับความรู้สึกทางช่อง
น้ำไขสันหลัง (บล็อกหลัง) ร้อยละ 98 (งานวิสัญญี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ, 2554) และปี 2554 มี
ผู้รับบริการที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง (บล็อกหลัง) ร้อยละ 99
(งานวิสัญญี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ, 2554)
ตามมาตรฐานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5/2555 กำหนดให้การเยี่ยมหญิง
ตั้งครรภ์ก่อนผ่าตัดเพื่อให้ความรู้ และเตรียมความพร้อมร่างกายและจิตใจของผู้รับบริการให้พร้อม ให้ยาระงับ
ความรู้สึกเป็นบทบาทหนึ่งของวิสัญญีพยาบาล เพื่อทำให้หญิงตั้งครรภ์ลดความวิตกกังวล และสามารถปฏิบัติ
ตนได้อย่างถูกต้องทั้งก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด โดยกิจกรรมการเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ก่อนผ่าตัดเป็นตัวชี้วัดตัว
หนึ่งของคุณภาพการให้บริการให้ยาระงับความรู้สึก ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการ
บริการและการปฏิบัติของบุคลากรที่มีต่อหญิงตั้งครรภ์ มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล หมวดที่ 5
คุณภาพบริการพยาบาล (จริยา เลิศอรรฆยมณี และคณะ, 2543) ซึ่งงานวิสัญญีแต่ละโรงพยาบาลจะมีวิธีการ
เยี่ยมเพื่อให้ความรู้ที่แตกต่างกัน ปัจจุบันงานวิสัญญี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์
มีวิธีการให้ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดการบล็อกหลังด้วยวิธีการสอน ร่วมกับแจกแผ่นพับ จากการสังเกตของ
วิสัญญีพยาบาล พบว่า หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เมื่อมาถึงห้องผ่าตัด ยังมีความกลัวต่อการผ่าตัด วิตกกังวลใน
ความปลอดภัย ทั้งต่อตนเองและบุตร แม้ในรายที่เคยรับการผ่าตัดมาแล้วก็ตาม ต้องมีการให้ความรู้ซ้ำ และ
จากสถิติงานวิสัญญี รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 ปี2556 พบว่า อัตราการให้ความรู้เรื่องการเตรียม
ความพร้อมก่อนบล็อกหลังซ้ำ เดือน มกราคม - มีนาคม 2556 จำนวน 42 ราย จากหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 59
ราย คิดเป็นร้อยละ 71.1 (งานวิสัญญี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ, 2556)
จากการทบทวนวรรณกรรมมีการศึกษาผลของการให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยที่ได้รับ ยา
ระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังในโรงพยาบาลเลิดสิน พบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้
เรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังในระดับต่ำ (< 7.2 คะแนน) มากที่สุดร้อย
ละ 89 หลังการทดลองมีระดับคะแนนความรู้สูง (9.6 -12 คะแนน) มากที่สุด ร้อยละ 85 (ศิริพร ยุทธวราภรณ์,
2549) นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาผลการให้คำปรึกษาแบบกระชับต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของ
หญิงตั้งครรภ์ผ่าตัดคลอดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวล
ของกลุ่มทดลองลดลงหลังการทดลองที่ระดับนัยสำคัญ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของกลุ่มทดลอง
สูงกว่ากลุ่มควบคุม (หัทยา ชำนาญชานนท์, 2552) ซึ่งในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดบุตรนั้นเป็นอีก
กลุ่มที่มีความวิตกกังวลสูง เนื่องจากมีความวิตกกังวลในความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุตร
ดังนั้น เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนบล็อกหลัง คลายความวิตกกังวล ให้
ความร่วมมือในการบล็อกหลัง และได้รับการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยสูงสุด ผู้วิจัยในฐานะ
วิสัญญีพยาบาล จึงสนใจศึกษาประสิทธิผลของการเตรียมความพร้อมก่อนบล็อกหลังหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการ
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยใช้ภาพพลิก
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการสอนเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนบล็อก
หลังโดยใช้ภาพพลิก กับหญิงตั้งครรภ์กลุ่มที่ได้รับการสอนโดยไม่ใช้ภาพพลิก
2. เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการสอนเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อน
บล็อกหลังโดยใช้ภาพพลิก กับหญิงตั้งครรภ์กลุ่มที่ได้รับการสอนโดยไม่ใช้ภาพพลิก
3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติตัวขณะบล็อกหลังของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการสอน เรื่องการ
เตรียมความพร้อมก่อนบล็อกหลังโดยใช้ภาพพลิก กับหญิงตั้งครรภ์กลุ่มที่ได้รับการสอนโดยไม่ใช้ภาพพลิก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นำสื่อภาพพลิก เรื่อง การเตรียมความพร้อมก่อนบล็อกหลังเพื่อรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เป็นอุปกรณ์สื่อการสอนในการปฏิบัติงานสำหรับวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8
นครสวรรค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ
2. เผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุขทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ที่มา
ศึกษาดูงาน นักศึกษาพยาบาลที่มาฝึกปฏิบัติงาน และ Website ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์
ประสิทธิผลของการเตรียมความพร้อมก่อนบล็อกหลังเพื่อรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง.pdf |
ขนาดไฟล์ 446KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |