กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลสำหรับการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
ที่รับการดูแลในงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์
หน่วยงาน ...งานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์
รายชื่อผู้จัดทำ
1. นางณัฐนันท์ วงษ์มามี
2. นางสาวนิตยา แซ่ลี้
3. นางวรกานต์ วิญญูกูล
4. นางสาวภัณณิตา เวชพินิจ
5. นางสาวนิตยา ธงชัย
6. นางละเอียด เขียวสุข
7. นางสาวกรภัทร ขันติวงค์
8. นางสาวณัฐฐา ศรีสงคราม
9. นางสุมาพร จันทร์นาค
เหตุผลและที่มา
มารดาที่มีบุตรรับการดูแลในงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ต้องถูกแยกบุตรออกจากมารดาทันที
หลังคลอด จึงเป็นการขัดขวางการปรับตัวของมารดา (Holditch-Davis and Miles 2000) และขาด
โอกาสในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกอีกด้วย ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือ มารดาจะมี
โอกาสเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการปรับตัวสู่บทบาทมารดา และการมีความรักใคร่ผูกพันกับทารกต่อไป อีก
ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ ยังไม่มีรูปแบบการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
อย่างเป็นแบบแผน ทีมผู้วิจัยจึงใช้กรอบแนวคิดของโดนาเบเดียน (Donabedian 1992) ที่ใช้ทฤษฎีระบบ
(System theory) เป็นกรอบในการประเมินคุณภาพบริการ บนความเชื่อที่ว่า ถ้าโครงสร้างขององค์กรดี
จะส่งผลให้กระบวนการดำเนินงานหรือบริการสุขภาพมีประสิทธิภาพ และถ้ากระบวนการดำเนินงาน หรือ
การบริการสุขภาพดี ก็จะเกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดี แก่ผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ อีกทั้งผลการศึกษา
จะทำให้ได้รูปแบบการดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้บุคลากรทางสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์
มีรูปแบบการดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดา
กับบุตรที่ที่รับการดูแลในงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการบริการต่อไป
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
เพื่อพัฒนารูปแบบบริการพยาบาล สำหรับการส่งเสริมสัมพันธภาพ ระหว่างมารดาและบุตร
ที่รับการดูแลในงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นำรูปแบบบริการพยาบาลมาปรับใช้ในงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด เพื่อให้เจ้าหน้าที่พยาบาล
มีการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งทำให้มารดาที่มีบุตรรับการดูแล ในงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
ได้รับการส่งเสริมการส่งเสริมสัมพันธภาพ อย่างถูกต้องต่อไป
เผยแพร่องค์ความรู้ เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของมารดาที่มีบุตรรับการดูแลในงาน
ผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด แก่มารดาและผู้สนใจ
พัฒนาองค์ความรู้ที่ได้เป็นคู่มือ หรือแผ่นพับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของมารดาที่มีบุตร
รับการดูแลในงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
เนื้อแนบเนื้อ NICU.pdf |
ขนาดไฟล์ 489KB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |