คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การพัฒนาประสิทธิภาพการวัดปริมาณเลือดโดยถุงรองเลือดในผู้คลอดทางช่องคลอด

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.08.2567
9
0
แชร์
13
สิงหาคม
2567

ชื่อเรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพการวัดปริมาณเลือดโดยถุงรองเลือดในผู้คลอดทางช่องคลอด
หน่วยงาน ห้องคลอด
รายชื่อผู้จัดทำ
1. นางบุษรา ใจแสน
2. นางโสพิศ โลหะวณิชย์
3. นางสุริยา เครนส์
4. นางนาตยา พิรุณโปรย
5. นางวันวิสา ฤทธ์ิบำรุง
6. นางสาววิไลวรรณ สุรารักษ์
7. นางพิมพ์วลัญช์ พรมสุรินทร์
8. นางสาวพรนิภา กวางทุม
9. นางสาวอรสา แก้วทอง
10. นางสาวบุรฑริกา บึงกรด
11. นางสุภาภรณ์ ไม้หอม
12. นางแน่งน้อย สายชาลี
13. นางรัตนา ประกอบไวทยกิจ
14. นางเกศกัญนี สุขพร้อม
15. นางสาวณัฐนันท์ มาตขาว
16. นางสุรวี ดีอาษา
17. นางสาวชลธิชา ชาติโกษ
18. นางสาวศศิวรกาน จตุพจน์
19. นางรัตนาภรณ์ สุธรรม
เหตุผลและที่มา
การตกเลือดหลังคลอด หมายถึงการเสียเลือดผ่านทางช่องคลอด ภายหลังทารกคลอดมีปริมาณตั้งแต่
500 มิลลิลิตรขึ้นไป เป็นภาวะแทรกซ้อนในทางสูติศาสตร์ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญสาเหตุหนึ่งของ
มารดาหลังคลอด และเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ความดันโลหิตต่ำ เวลาเปลี่ยน
ท่าทาง (Orthostatic hypotension) ภาวะซีด อ่อนเพลีย ซึ่งอาจมีผลต่อการดูแลบุตร และอาการซึมเศร้าหลัง
คลอด จึงจำเป็นต้องให้เลือดทดแทน ซึ่งเป็นการเพิ่มภาวะเสี่ยงจากการให้เลือดด้วย ในรายที่มีการตกเลือด
อย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะช็อค ต่อมใต้สมองส่วนหน้าขาดเลือด (Anterior Pituitary ischemia) มีผลให้
น้ำนมไม่ไหลหรือไหลช้า และอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นเกิดขึ้นตามมา เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
การแข็งตัวของเลือดผิดปกติจากความเข้มข้นของเลือดจาง (Dilution at Coagulopathy) (กันยา ออประเสริฐ,
2546)
การป้ องกันมิให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด จะมีผลดีต่อผู้รับบริการมากกว่าการแก้ไข ดังนั้นการ
ประเมินอาการที่ถูกต้อง รวดเร็ว และให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม จะสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและ
ระดับความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินการเปลี่ยนแปลงอาการ และ
ปริมาณเลือดที่เสียไปในระหว่างการคลอด และหลังคลอด เพราะการประเมินที่ถูกต้องย่อมนำไปสู่การ
ดำเนินการช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสม ในขณะเดียวกันการมีเครื่องมือในการประเมินที่ดีมีประสิทธิภาพจะ
ส่งผลให้การประเมินนั้นถูกต้องไปด้วย การประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของมารดาหลังคลอด เครื่องมือที่ใช้
ในการประเมิน คือ กิจกรรมตามมาตรฐานการพยาบาลมารดาหลังคลอด ซึ่งจะมีมาตรฐานและแนวทาง
ปฏิบัติที่คล้ายๆ กันในสถานพยาบาลแต่ละแห่ง แต่เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินปริมาณเลือดที่เสียไปใน
ระหว่างการคลอดนั้น พบว่ามีความแตกต่างกันอยู่ เช่น บางสถานพยาบาลประเมินจากการคาดคะเนปริมาณ
เลือดที่มีอยู่ในภาชนะรองรับเลือด ผ้าซับเลือดหรือประเมินด้วยสายตา ซึ่งค่าที่ได้ขึ้นอยู่กับความชำนาญ และ
ประสบการณ์ของผู้ประเมิน อาจมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง ถ้ามากไปมารดาหลังคลอดอาจได้รับการ
ดูแลรักษาที่มากเกินความจำเป็น แต่หากประเมินได้น้อยกว่าความเป็นจริงแผนการดูแลรักษาอาจน้อยเกินไป
ไม่เพียงพอสำหรับการให้การช่วยเหลือ จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทุพพลภาพ หรือความสูญเสียตามมา
ดังนั้น การประเมินที่ถูกต้อง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถค้นหาความผิดปกติ
เบื้องต้นที่จะนำไปใช้สำหรับวางแผนการเฝ้ าระวัง เพื่อลดอุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนการตกเลือดหลังคลอด
และความสูญเสียที่จะเกิดตามมา
งานห้องคลอดจึงจัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินที่มีประสิทธิภาพ ของการประเมินปริมาณเลือด
ขณะคลอดโดยใช้ถุงรองรับเลือด กับผู้คลอดที่มารับบริการคลอด ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัย
ที่ 8 นครสวรรค์
จากการศึกษาประสิทธิผลของถุงรองรับเลือดขณะคลอด ทำให้สามารถคัดกรองผู้รับบริการคลอดที่
มีภาวะตกเลือดหลังคลอดได้มากขึ้น โดยพบว่าในปี 2553 เริ่มมีการใช้ถุงรองรับเลือด พบอัตราการตกเลือด
หลังคลอด 4.05 ซึ่งเดิมก่อนที่จะมีการใช้ถุงรองรับเลือด ปี 2550-2552 พบอัตราการตกเลือดหลังคลอด ร้อย
ละ 1.3, 2.6 และ 3.5 ตามลำดับ งานห้องคลอดจึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการใช้ถุงรองรับเลือด เพื่อ
ลดและขจัดปัญหาที่พบ โดยทำจากวัสดุที่ใช้เป็นถุงย่อยสลายง่ายเป็นสามเหลี่ยมเพื่อลดต้นทุนการผลิตและ
การทำลายขยะ และทำสเกลวัดปริมาณเลือดติดที่ถุงเพื่อความสะดวกในการตวงวัดปริมาณเลือด เพื่อลด
ความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารคัดหลั่ง และที่สำคัญคือสามารถประเมินปริมาณการเสียเลือดของผู้รับบริการ
คลอดได้ทันที ทำให้สามารถให้การช่วยเหลือผู้รับบริการคลอดได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการตวงวัดปริมาณเลือดของผู้คลอดทางช่องคลอด
2. เพื่อประเมินการสูญเสียเลือดในผู้คลอดทางช่องคลอดที่ถูกต้องรวดเร็วและให้การ
ช่วยเหลือที่เหมาะสม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตวงวัดปริมาณเลือดของผู้คลอดทางช่องคลอดถูกต้อง แม่นยำ
2. ผู้ดูแลสามารถค้นหาความผิดปกติที่จะนำไปใช้สำหรับการวางแผนเฝ้ าระวังเพื่อลด
อุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อน จากภาวะตกเลือดหลังคลอด
3. เป็นนวตกรรมถุงรองเลือดที่สามารถเผยแพร่ให้กับหน่วยงานอื่นๆ

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ถุงรองเลือด.pdf
ขนาดไฟล์ 461KB
ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน