คุณกำลังมองหาอะไร?

นวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์แบบมีส่วนร่วม

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.08.2567
1
0
แชร์
13
สิงหาคม
2567

ชื่อเรื่อง แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์แบบมีส่วนร่วม
หน่วยงาน งานอนามัยชุมชน
รายชื่อผู้จัดทำ
1. นางสุพัตรา โค้วสุวรรณ หัวหน้าการจัดการความรู้ งานอนามัยชุมชน
2. นางสมศรี จันทร์เดช งานฝากครรภ์ (ผู้ร่วมดำเนินการฯ)
3. นางนริศา ทิมศิลป์ งานบริบาลทารกแรกเกิด (ผู้ร่วมดำเนินการฯ)
4. นายเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์ งานส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการ (ผู้ร่วมดำเนินการฯ)
5. นายประเสริฐ แป้นจันทร์ งานส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการ (ผู้ร่วมดำเนินการฯ)
เหตุผลและที่มา การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง เป็นการตั้งครรภ์ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือ
ชีวิตของมารดาและทารกในครรภ์ ทั้งระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ส่งผลให้เกิดปัญหา
สุขภาพ ความพิการอย่างรุนแรงของทารก และอันตรายถึงชีวิตของมารดาได้ ภาวะเสี่ยงสูงที่พบบ่อยในการ
ตั้งครรภ์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1) ภาวะเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ (pregnancy – related
complication) เช่น อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะตกเลือดก่อน
คลอด เป็นต้น และ 2) ภาวะเสี่ยงที่เกิดจากโรคที่ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ (condition that
complicate pregnancy) เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโลหิตจาง เป็นต้น (สุพัตรา โค้วสุวรรณ 2555)
การศึกษาสถานการณ์ภาวะสุขภาพของมารดาและทารกปริกำเนิด พ.ศ. 2549 – 2551 พบว่า อัตราการตาย
ของมารดาต่อ 100,000 การเกิดมีชีพเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 18.1 20.6 และ 23.1 ตามลำดับ สาเหตุการ
ตายของมารดา 3 อันดับแรก ได้แก่ การตกเลือด น้ำคร่ำอุดตันในเส้นเลือด และพิษแห่งครรภ์ และ สาเหตุการ
ตายปริกำเนิด ส่วนใหญ่เกิดจากตายเปื่อยยุ่ย ร้อยละ 40.4 47.4 และ 48.1 ตามลำดับ รองลงมาตายจาก
ความพิการแต่กำเนิด การขาดออกซิเจน และการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
(2,500 กรัม) ร้อยละ 8.7 9.1 และ 8.2 ตามลำดับ (กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ
กรมอนามัย 2553) จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงซึ่งมีแนวโน้มที่
จะเผชิญปัญหาดังกล่าว รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เป็นหน่วยงานด้านบริการสาธิตของศูนย์อนามัยที่
8 ซึ่งมีหน้าที่ในการวิจัย พัฒนา และผลิตนวัตกรรมรูปแบบบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1) เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการดูแลโดยเฉพาะหน่วยบริการของโรงพยาบาลได้เข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่
การกำหนดแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์
2) เพื่อให้การดำเนินการตามแนวทางการดูแลสอดคล้องกับหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายการ
ดูแลที่บ้าน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ สามารถนำไปให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนของการ
ตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 และบริหารเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

งานอนามัยชุมชน.pdf
ขนาดไฟล์ 174KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน