คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การจัดระบบบริการการดูแลเด็กเป็นรายบุคคล(casemanagement) ของโรงพยาบาล ในจังหวัดนครสวรรค์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.08.2567
6
0
แชร์
06
สิงหาคม
2567

1. ชื่อเรื่อง การจัดระบบบริการการดูแลเด็กเป็นรายบุคคล(casemanagement) ของโรงพยาบาล
ในจังหวัดนครสวรรค์
2. หัวหน้าโครงการ นางวันเพ็ญ ประเสริฐศรี ศูนย์อนามัยที่ 8
3. สมาชิกกลุ่ม นางฐิติชยา ไทยพาท ศูนย์อนามัยที่ 8
นางสุมาลีกลิ่นแมน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์
ผู้รับผิดชอบงานดูแลเด็กของโรงพยาบาลในจังหวัดนครสวรรค์
4. การทบทวนการจัดการความรู้ (ความเป็นมา เหตุผล ความจำเป็น การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และการคัดเลือก
องค์ความรู้ที่มาจัดการความรู้)
ความเป็นมา
ประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ HIV/AIDS ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเริ่มจากผู้ติดยาเสพติด
ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ตามด้วยหญิงบริการ จนเข้าสู่ระบบครอบครัว การระบาดของ HIV/AIDS มุ่งไปที่หญิง-ชาย
วัยเจริญพันธ์ และเด็ก จากการที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน การติดเชื้อ HIV ในเด็กจากแม่สู่ลูกรายแรกจึงเริ่มขึ้นใน
ปี พ.ศ.2531
แม้ว่าอัตราการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ ลดลงจากร้อยละ 2.2 ในปี 2538 เป็นร้อยละ 0.72 ในปี 2552 และความ
ครอบคลุมของบริการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกสูง แต่กลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ยังคงมี
จำนวนมากขึ้น จากการสำรวจทางระบาดวิทยาโดยใช้ Asian Epidemic Model (AEM) ในปี 2552 คาดประมาณ
ว่าเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่ติดเชื้อซึ่งมีอายุระหว่าง 0-17 ปีจะมีจำนวนถึง 321,792 คนในจำนวนนี้
ร้อยละ64 เป็นเด็กอายุระหว่าง 10-17 ปี และร้อยละ 36 เป็นเด็กอายุระหว่าง 0-9 ปี
ถึงแม้ว่าการดำเนินงานการป้องกัน HIV/AIDS ซึ่งรวมการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกด้วย ได้มีการขยายการ
ดำเนินงานมากขึ้น ซึ่งทำให้ช่วยลดจำนวนเด็กกำพร้าที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีไปได้ แต่เนื่องจากประเทศไทยมี
ประวัติการระบาดของเอดส์ที่ยาวนาน ทำให้ในปัจจุบันจึงมีจำนวนเด็กกำพร้าที่มีผลจาก HIV/AIDS จากการ
สำรวจโดยใช้ AEM ยังคาดประมาณอีกว่า ในปี 2552 มีเด็กกำพร้าที่มีผลจากเอดส์จำนวน 301,865 คน ซึ่งมีอายุ
ระหว่าง 0-17 ปี ที่เสียบิดาหรือมารดาอย่างน้อยคนใดคนหนึ่งจากเอดส์ ในจำนวนนี้ 91,706 คน อายุ 0-9 ปี
ยังมีการคาดประมาณอีกว่า มีเด็กกำพร้าจากทุกสาเหตุจำนวน 853,456 คน เช่นเดียวกับการคาดประมาณจาก
Multiple Indicator Cluster Surveys ในปี 2549 การสำรวจนี้ยังพบอีกว่า ร้อยละ 35.4 ของเด็กกำพร้า
ทั้งหมดในประเทศสูญเสียพ่อหรือแม่จากผลข้างเคียงของเอดส์
การสำรวจของ AEM ยังระบุว่า ในปี 2552 มีจำนวนเด็กอายุ 0-19 ปี จำนวน 26,975 คน ที่ติดเชื้อ เอชไอวีร้อย
ละ 46 เป็นวัยรุ่น (15-19 ปี) ซึ่งต้องการการดูแลช่วยเหลือจากวัยรุ่นไปสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป ร้อยละ 30 อยู่
ในช่วงอายุ 10-14 ปี ซึ่งต้องการการเตรียมตัวเข้าสู่การเริ่มมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม และร้อยละ 15 อยู่
ในวัยเด็กปฐมวัย (อายุ 5-9 ปี) ซึ่งต้องการรู้สภาวะการติดเชื้อของตนเองและต้องการการช่วยเหลือด้านอารมณ์
และสังคม และร้อยละ 8 อายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องการการดูแลที่เหมาะสมในเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ใน
เรื่องที่เกี่ยวกับเพศ อัตราส่วนเพศหญิง ต่อเพศชาย ในทุกกลุ่มอายุ เท่ากับ 1:1 ยกเว้นในวัยรุ่นอัตราส่วนเพศหญิง
ต่อเพศชายเท่ากับ 1:3
การสำรวจโดยใช้ SPECTRUM Model พบว่า จำนวนเด็กที่คาดประมาณว่าต้องได้รับยาต้านไวรัสเพื่อการรักษาใน
ปี 2551 และ2552 เท่ากับ 9,248 คน และ 9,450 คน ตามลำดับ จากระบบควบคุมกำกับเรื่องการใช้ยาต้านไวรัส
ของประเทศ พบว่าเมื่อสิ้นสุดปี 2551 และ 2552 มีจำนวนเด็กที่ได้รับยาต้านไวรัส เท่ากับ 7,990 คน และ
8,076 คน ตามลำดับ ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าความครอบคลุมของการได้รับยาต้านไวรัสในเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี
เท่ากับร้อยละ 86.1 ในปี 2551 และเท่ากับร้อยละ 85.5 ในปี 2552 ตามลำดับ
เมื่อประเมินช่องว่างของการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กดังกล่าว พบว่ามีส่วนขาดในหลาย ๆ ด้าน เช่น
ด้านสาธารณสุข พบว่าการติดตามเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อรับการดูแลรักษาที่เหมาะสมยังไม่
ครอบคลุม ยังขาดการช่วยเหลือด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเติมเต็มให้การดูแลรักษาทางคลินิกมี
ประสิทธิภาพดีขึ้น ทางด้านสังคม ระบบการช่วยเหลือและปกป้องคุ้มครองเด็ก ยังขาดการป้องกันในเรื่องของ HIV
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในชุมชน แต่ศักยภาพของชุมชน ยังไม่ให้ความสำคัญกับ
การดูแลเด็กเหล่านี้ ปัญหาการถูกตีตรา รังเกียจ และเลือกปฏิบัติที่ยังมีอยู่ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าถึงบริการที่
สำคัญคือข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้รับผลกระทบ ที่ยังไม่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบ ทั้งประเทศทำให้การดูแล และ
สนับสนุน ไม่สามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการเข้าถึงบริการดูแลรักษาแบบองค์รวมที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็กตามกลุ่มอายุ รวม
การบริการที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การป้องกัน การดูแลช่วยเหลือด้านอารมณ์สังคม การรักษาที่เน้นที่ตัวเด็กเป็น
ศูนย์กลาง ซึ่งการดำเนินงานจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรเอกชน
ภาคประชาสังคม องค์กรชุมชน ผ่านทางระบบบริการของทุกหน่วย ทุกระดับที่มีอยู่ในจังหวัด และสอดคล้องกับ
แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของประเทศ

 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

การจัดการความรู้กลุ่มแม่และเด็ก.pdf
ขนาดไฟล์ 885KB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน