กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบภาวะสุขภาพกาย ใจ ผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพ
แบบแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ศูนย์อนามัยที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์
หน่วยงาน งานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์
รายชื่อผู้จัดทำ
1. นายศิวพล สุวรรณบัณฑิต ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย หน่วยงาน งานส่งเสริมสุขภาพ
2. นางปราณี จรไกร ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ หน่วยงาน งานส่งเสริมสุขภาพ
3. นายเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์ ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ หน่วยงาน งานส่งเสริมสุขภาพ
4. นายมานพ ศรีชมภู ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์การกีฬา หน่วยงาน งานส่งเสริมสุขภาพ
5. นายประเสริฐ แป้นจันทร์ ตำแหน่ง โภชนากร หน่วยงาน งานส่งเสริมสุขภาพ
6. นางจันทิรา สุโพธิ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยงาน งานสูติกรรม
7. นางวิราวรรณ์ โพธิ์งาม ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยงาน งานตรวจสุขภาพเด็กดี
8. นางรุจิพัชญ์ เพ็ชร์สินเดชากุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยงาน หน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่
9. นางพัชรี เพชรประดิษฐ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยงาน หน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่
10. ว่าที่ร้อยตรีหญิง ปัทมา ธีรประถัมภ์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการ หน่วยงาน กลุ่มจัดการความรู้ ฯ
เหตุผลและที่มา(ในการคัดเลือกเรื่อง)
สังคมไทย ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายความว่าประชากรที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีจำนวนและสัดส่วนมากขึ้น ซึ่งองค์การ
สหประชาชาติ ให้คำนิยามว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ
7 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อมีสัดส่วน
ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 ประชากรผู้สูงอายุของประเทศ
ไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7 ล้านคน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550เป็น 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และคาด
ว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 หรือ 1ใน 5 จะเป็นประชากรผู้สูงอายุ ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่
คนเดียวหรืออยู่ลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าผู้สูงอายุอยู่คนเดียวเพิ่มจากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็น 7.6 ในปี 2550
ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย โดยเฉพาะเจ็บป่วยด้วยโรคไร้เชื้อ เช่น ความ
ดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รักษาไม่หาย มีภาวการณ์พึ่งพาต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและ
การดูแลระยะยาว ผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน(สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย)
ปี 2556 มีผู้สูงอายุมารับบริการคลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก จำนวน 403 ราย หน่วยงานได้สุ่มประเมิน
ปัญหาสุขภาพด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิต SF – 36 กับผู้สูงอายุจำนวน 66 ราย เป็นเพศชาย 34 ราย เพศหญิง 32 ราย พบว่า
ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว 56 รายคิดเป็นร้อยละ 84.8 บางรายมีมากกว่าหนึ่งโรคและโรคที่พบได้แก่ ความดันโลหิตสูงร้อยละ
64.3 ข้อเสื่อมร้อยละ 54.5 กล้ามเนื้ออักเสบร้อยละ 45.5 เบาหวานร้อยละ 25.0 และโรคอื่นๆเช่น ไขมันในเลือดสูง หัวใจ
ริดสีดวงทวาร ร้อยละ 50.0 , 10.7 , 3.6 ตามลำดับ และจากการประเมินคุณภาพชีวิตทางกายและใจ โดยใช้แบบประเมิน
คุณภาพชีวิต SF – 36 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 69.70 มีปัญหาทางสุขภาพกายที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และ
ร้อยละ 51.2 มีปัญหาทางอารมณ์ที่มีผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันและร้อยละ 48.5 มีปัญหาทางสุขภาพกายและทาง
อารมณ์มีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมทางสังคม แบ่งเป็นมีกระทบการทำกิจกรรมทางสังคมบางครั้งร้อยละ 30.3 และมี
ผลกระทบการทำกิจกรรมทางสังคมเกือบตลอดเวลาร้อยละ 18.2
ผู้วิจัยและทีมงานวิจัย คลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก งานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่8 ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพ ไม่ได้มุ่งเน้นเพียง
แค่การรักษาเฉพาะอาการที่มีปัญหาตามพยาธิสภาพเท่านั้นผู้สูงอายุ แต่ยังเน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ รวม
ไปถึงอารมณ์ และการทำกิจกรรมทางสังคม จึงทำการศึกษาเปรียบเทียบภาวะสุขภาพทางกายและทางใจผู้สูงอายุด้วยกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพแบบแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและ
จิตใจ เพื่อสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้และอาการป่วยไม่มีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมทางสังคม และช่วยเหลือตนเอง
ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1. เพื่อศึกษาคะแนนประเมินภาวะสุขภาพกายใจของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การดูแลสุขภาพแบบแพทย์ทางเลือก
2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนประเมินภาวะสุขภาพกายใจ (Barthel Activities of Daily Living:ADL)ของผู้สูงอายุ
ที่มารับบริการที่คลินิกแพทย์ทางเลือกระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบ
แพทย์ทางเลือกและกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม 3.
เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบแพทย์ทางเลือกของผู้สูงอายุที่มารับบริการที่คลินิก
แพทย์ทางเลือกระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบแพทย์ทางเลือกและ
กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความรู้และความสามารถในการดูแล ป้องกัน รักษา และพัฒนาสุขภาพทาง
กายใจตนเองได้
2.รูปแบบกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพของสูงอายุเอง
3.ได้องค์ความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบแพทย์ทางเลือกของผู้สูงอายุโดยแบ่งออกเป็นการ
ดูแลสุขภาพตามธาตุเจ้าเรือนที่ประสบผลสำเร็จ
4.ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพวะทางกายใจคัดกรองความเครียด โรคซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม เพื่อเป็นการหาสาเหตุ
และแก้ไขได้ในเบื้องต้น
KM ผู้สูงอายุปี 2557.pdf |
ขนาดไฟล์ 4MB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |