คุณกำลังมองหาอะไร?

พั

พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ในบ้านในผู้ป่วยเด็ก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

15.07.2567
17
0
แชร์
15
กรกฎาคม
2567

ชื่อเรื่อง พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ในบ้านในผู้ป่วยเด็ก
ชื่อผู้จัดทำ 1.นางสุมนรัตน์ สุวราช
2. นพ.ชัยวัฒน์ อภิวันทนา
3. น.ส.เตือนใจ แก้วสารพัดนึก
4. น.วาสนา วุฒิกิจจานนท์
5. น.สุขทวี กมลสินธุ์
ความเป็นมา ( BAR )
บ้านเป็นที่ที่เด็กได้รับควันบุหรี่มือสองมากที่สุด ในควันบุหรี่มือสองมีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิดเป็นสารพิษมากกว่า250 ชนิด และเป็นสารก่อมะเร็งมากกว่า 50 ชนิด ซึ่งจะทาอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งของผู้สูบเองและผู้ใกล้ชิดที่จัดเป็นควันบุหรี่มือสอง ปัจจุบันมีเด็กเกือบ 700 ล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรเด็กทั่วโลกหายใจเอาอากาศปนเปื้อนควันบุหรี่ที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในบ้าน (ข้อมุลจาก WHO) ในประเทศไทยมีจานวนครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่ 7.3 ล้านครัวเรือน (จาก18.2ล้านครัวเรือน) คนไทยมีโอกาสได้รับควันบุหรี่ในบ้าน เท่ากับ 15.8 ล้านคน(จาก 65.1ล้านคน)คิดเป็นหนึ่งในสี่ของประชากรไทย ในจานวนนี้มีเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ได้รับควันบุหรี่เท่ากับ2.28 ล้านคน
( สานักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2549 ) ในบ้านหรือที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท การสูบบุหรี่ทุกๆ 20 มวน จะทาให้เด็กต้องหายใจเอาควันบุหรี่เข้าไปในปริมาณเท่ากับการสูบบุหรี่เอง 1 มวน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กสารพิษจากควันบุหรี่ทาให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวมสูงกว่าเด็กทั่วไป และมีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลาง และผลในระยะยาว เด็กที่ได้รับควันบุหรี่ พัฒนาการของปอดจะน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ และการสูบบุหรี่ในบ้านยังเป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้เด็กๆกลายเป็นผู้สูบบุหรี่จัดในอนาคตด้วย จากการศึกษาของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีโดยการสารวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการได้รับควันบุหรี่มือสองพบว่า ในกลุ่มผู้ปกครองที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 82 สูบในบ้าน และผู้ปกครองไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่รู้ว่า โรคต่างๆในเด็กเกี่ยวข้องกับการได้รับควันบุหรี่มือสอง และข้อมูลการรับบริการของแผนกตรวจโรคเด็ก พบว่าอัตราเด็กป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจคิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเด็กทั้งหมด จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กได้มีความรู้และตระหนักถึงพิษภัยของควันบุหรี่เพื่อทาให้ทุกครอบครัวเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ เป็นการส่งเสริมสุขภาพของทั้งเด็กและบุคคลในครอบครัว
รูปแบบการจัดการความรู้ ( KS )
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแนวคิดและความรู้ของสมาชิกในกลุ่ม และจากคู่มือการดาเนินการส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ของมูลนิธิเพื่อการไม่สูบบุหรี่และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติซึ่งมีสมาชิกบางท่านได้เคยเข้าร่วมโครงการบ้านปลอดบุหรี่ นามาเป็นองค์ความรู้พร้อมทั้งขอสนับสนุนสื่อต่างๆเช่น สื่อบัตรคิว เอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์อันตรายจากควันบุหรี่ จากมูลนิธิเพื่อการไม่สูบบุหรี่

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเล่า-พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ในบ้านในผู้ป่วยเด็ก.pdf
ขนาดไฟล์ 635KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน