กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
รายงานการจัดการความรู้เรื่อง แนวปฏิบัติการดูแลครรภ์เสี่ยงทางสูติกรรมที่บ้าน
หัวหน้าโครงการ นางสุพัตรา โค้วสุวรรณ
สมาชิกกลุ่ม
นางจิตนิภา ชัยติสกุล
นางนริศา ทิมศิลป์
นางประณีต พิมพ์ภูลาด
นางสาวภคมน โพธิ์ศรี
การทบทวนการจัดการความรู้
สุขภาพของมารดาและทารกถือเป็นหนึ่งความสาเร็จที่จาเป็นต้องให้ทุกหน่วยงานในระบบสาธารณสุขของประเทศร่วมมือกันอย่างจริงจังในการพัฒนาคุณภาพการดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องมีการปรับตัวของร่างกายเพื่อตอบสนองต่อการตั้งครรภ์ไปจนครบกาหนดคลอด ดังนั้นจึงจาเป็นต้องมีการดูแล ประคับประคอง ให้อยู่ในภาวะสมดุลตลอดการตั้งครรภ์ เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมสามารถเกิดขึ้นและไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น ภาวะตกเลือด ภาวะรกลอกตัวก่อนกาหนด ภาวะถุงน้าคร่าแตกก่อนเจ็บครรภ์ เป็นต้น จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของสานักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยปี พ.ศ. 2548 พบว่า อัตราทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 25.6 ต่อพันการเกิดมีชีพ (เป้าหมายไม่ควรเกิน 30 ต่อ พันการเกิดมีชีพ) และอัตราน้าหนักทารกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.7 (เป้าหมายไม่ควรเกินร้อยละ 7) และผลการดาเนินงานเฝ้าระวังสุขภาพแม่และเด็ก เขต 8 ปีงบประมาณ 2554 (ประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ กาแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี) พบว่า อัตราทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 24.50 ต่อพันการเกิดมีชีพ และอัตราน้าหนักทารกแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.90 ในขณะเดียวกันจากรายงานการเฝ้าระวังสุขภาพแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ใน พ.ศ. 2552-2554 พบว่า อัตราทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน 2.00 1.50 และ 5.70 ต่อพันการเกิดมีชีพ ตามลาดับ และพบว่า อัตราน้าหนักทารกแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 5.10 6.30 และ 6.50 ตามลาดับ และในปี พ.ศ. 2554 พบว่า thick meconium stained amniotic fluid เป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนของมารดาในขณะตั้งครรภ์ที่พบมากที่สุด รองลงมาคือ Oligohydramios และ ภาวะพิษแห่งครรภ์ คิดเป็นร้อย
ละ 11.40 7.20 และ 4.20 ตามลาดับ
การตั้งครรภ์ถือเป็นภาวะปกติ ไม่ใช่การเป็นโรค แต่ถ้าการตั้งครรภ์นั้นเกิดมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก
การตั้งครรภ์ ทาให้หญิงตั้งครรภ์และทารกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือการตาย ดังนั้นการให้ความรู้
และคาแนะนาเพื่อการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ควรเพิ่มเติมจากสตรีตั้งครรภ์ปกติ รวมถึงการให้บริการที่มี
คุณภาพและมาตรฐาน
เรื่องเล่า-แนวปฏิบัติการดูแลครรภ์เสี่ยงทางสูติกรรมที่บ้าน.pdf |
ขนาดไฟล์ 341KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |