กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ชื่อเรื่อง โครงการการพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์
หัวหน้าโครงการ นายแพทย์กนก ทองใบใหญ่ นายแพทย์ชานาญการ
สมาชิกกลุ่ม
นางสาวปราณี สุวัฒนพิเศษ พยาบาลวิชาชีพชานาญการ
นางสาวธนาพร กิตติเสนีย์ พยาบาลวิชาชีพชานาญการ
นางเพียงฤทัย พิพัฒนสิริ เภสัชกรชานาญการ
นายเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์ นักโภชนาการปฏิบัติการ
การทบทวนการจัดการความรู้ (ความเป็นมา เหตุผล ความจาเป็น การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และการคัดเลือกองค์ความรู้ที่มาจัดการความรู้) (ขั้นตอน 1-3)
ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารก การดาเนินงานที่ผ่านมาของศูนย์อนามัยที่ 8 ยังไม่มีรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่ชัดเจน ไม่เฉพาะเจาะจง ทาให้หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ยังคงพบภาวะโลหิตจางอยู่เมื่อเจาะเลือดซ้าในครั้งที่ 2 (ปี 2552 – 2554 พบร้อยละ 10.4, 15.5 และ 12.9 ตามลาดับ) จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าความสาคัญในการดูแลผู้รับบริการในกลุ่มนี้ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องการรักษาทางยาอย่างเดียวเท่านั้น ความรู้/ความเข้าใจและการปฎิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้รับบริการก็มีความสาคัญในการแก้ปัญหาภาวะโลหิตจาง โดยเฉพาะในเรื่องของการรับประทานยาให้มีประสิทธิภาพ การรับประทานอาหารที่เพิ่มธาตุเหล็ก ดังนั้นจะเห็นว่าบทบาทสาคัญของการดูแลจะไม่ใช่เฉพาะแค่แพทย์และพยาบาล แต่ยังรวมถึงเภสัชกร และโภชนากร ในการที่จะวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการดูแลร่วมกัน แต่ที่ผ่านมาศูนย์อนามัยที่ 8 นั้น ยังไม่เคยมีการพูดคุยหรือวางแผนร่วมกันในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางของทีมสหสาขาวิชาชีพ ไม่มีการส่งต่อหรือประสานงานกันระหว่างหน่วยงานเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลที่ครอบคลุมในทุกด้าน จากสาเหตุดังกล่าวน่าจะส่งผลให้ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จากการเจาะเลือดครั้งที่ 2 ของศูนย์อนามัยที่ 8 ยังคงสูงอยู่ และถ้าไม่ได้รับการพัฒนา แก้ไข ปัญหาตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่เป็นผลกระทบจากการมีภาวะซีดของหญิงตั้งครรภ์ เช่น การติดเชื้อ การคลอดก่อนกาหนด การคลอดทารกน้าหนักน้อย เป็นต้น ก็จะยังคงเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขต่อไป ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไข และพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก จึงมีโครงการที่จะพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ภาวะโลหิตจางจากทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยมุ่งหวังให้อัตราของการเกิดภาวะโลหิตจาง (จากการเจาะเลือดครั้งที่ 2) ในหญิงตั้งครรภ์ลดลงได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
เรื่องเล่า-โครงการการพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ.pdf |
ขนาดไฟล์ 607KB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |