คุณกำลังมองหาอะไร?

คุ

คุณภาพการตรวจ OF DCIP ในการตรวจคัดกรอง Thalassemia

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

09.07.2567
99
0
แชร์
09
กรกฎาคม
2567

เหตุผลที่เลือกองค์ความรู้

จากการดาเนินงานการให้บริการการตรวจวิเคราะห์ OF / DCIP ทางห้องปฏิบัติการ มี 4 กลุ่ม คือ -/- , +/- , -/+ และ +/+ โดยกลุ่มที่มีผล +/- , -/+ และ +/+ จะนาไปตรวจ Hb typing และ PCR ต่อไป แล้วจะเหลือกลุ่มที่มีผล -/- ซึ่งอาจจะเกิดผลเป็น False Negative ได้ ดังนั้นทางสมาชิกในกลุ่มจะนาสิ่งส่งตรวจของกลุ่ม -/- มาทาการตรวจ Hb typing และ PCR เพื่อดูผลว่ามีการเกิด False Negative จริงหรือไม่ และถ้าเกิด เกิดขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ รวมถึง False Positive ในกลุ่มที่มีผล +/- , -/+ และ +/+ ก็เช่นเดียวกันว่ามี False Positive < 5 % หรือไม่
รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
1. นายณัฐพงษ์ โอชารส 2. นายนิรุติ ศิริรัตน์มานะวงศ์ 3. นายพรธันย์ ชัชวาลธีราพงศ์ 4. น.ส.กาญจนา คงสุขสกุลชัย 5. นายพงศธร แสงประเสริฐ

ความเป็นมาและเหตุผลที่เลือกองค์ความรู้
การควบคุมและป้องกันโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ของศูนย์อนามัยที่ 8 มุ่งเน้นไปที่การป้องกันโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 ชนิด ได้แก่ Homozygous ?-thalassemia 1 ( Hb Bart’s hydrops fetalis ) Homozygous ?-thalassemia และ ?-thalassemia/ Hb E ดังนั้น พาหะที่ต้องตรวจวินิจฉัยให้ได้ ได้แก่ พาหะ ??thalassemia 1 พาหะ??-thalassemia และ พาหะ Hb E ขั้นตอนการการดาเนินงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การตรวจคัดกรองเบื้องต้น การตรวจยืนยัน และการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ การตรวจคัดกรองเบื้องต้นใช้น้ายา OFและDCIP โดยน้ายา OF ที่ให้ผลบวก ใช้ในการตรวจคัดกรองหาพาหะ ?-thalassemia 1 และพาหะ??-thalassemia OF ที่เป็นลบ บ่งบอกว่าไม่มีพาหะ??thalassemia 1 และพาหะ??-thalassemia และน้ายา DCIP ที่ให้ผลเป็นบวกใช้ตรวจหาพาหะ Hb E ส่วนการตรวจด้วยน้ายาDCIP ที่ให้ผลเป็นลบ บ่งบอกว่าไม่มีพาหะ Hb E เมื่อผลการตรวจคัดกรองOF/DCIP เป็นบวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ดาเนินการติดตามคู่สมรส เพื่อเข้ารับการตรวจคักรองเช่นเดียวกันกับหญิงตั้งครรภ์ แต่หากให้ผลการตรวจคัดกรองเป็นบวก ทั้งหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสจะได้รับการตรวจยืนยันเพื่อกาหนดคู่เสี่ยงที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยทารกในครรภ์ต่อไป แต่หากผลการตรวจคัดกรองคู่สมรสเป็นลบ ไม่ต้องดาเนินการต่อแต่อย่างใด
การตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยน้ายา OF/ DCIP จึงมึความสาคัญลาดับแรก ที่ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จะต้องทาการตรวจวินิจฉัยให้ถูกต้อง แม่นยา ที่ผ่านมายังไม่มีข้อมูล ว่าห้องปฏิบัติการฯ ของศูนย์ ฯ มีผลการตรวจคัดกรองด้วย OF/ DCIP ที่ให้ผลลบปลอม ( false negative ) หรือไม่ และที่ให้ผลการตรวจคัดกรองด้วย OF/ DCIP ที่ให้ผลบวกปลอม ( false positive ) มากน้อยเพียงใด ผลกระทบจากผลลบปลอมทาให้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะไม่ได้ดาเนินการตามขั้นตอนและไม่ได้ถูกกาหนดเป็นคู่เสี่ยง ส่วนผลกระทบจากผลบวกปลอม ทาให้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้เป็นพาหะถูกนามาตรวจยืนยันมากขึ้น ผู้รับบริการเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
การจัดการการเรียนรู้เรื่อง การทดสอบความชานาญการตรวจคัดกรองเบื้องต้นหาพาหะธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการ จึงเป็นการวัดความชานาญการตรวจคัดกรองฯ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร และเมื่อสร้างเกณฑ์ในการตรวจวัดขึ้น จะทาให้สามารถรู้ได้ว่า ความชานาญการตรวจคัดกรองของบุคลากรอยู่ในระดับ

ใด และสามารถพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆไปให้อยู่ในระดับที่ดียิ่งขึ้น คาดหวังว่า ผลการตรวจคัดกรองด้วย OF/ DCIP จะต้องไม่มีผลลบปลอมและมีผลบวกปลอมน้อยในระดับที่ดี และดีเยี่ยมในปีต่อๆไป

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

คุณภาพการตรวจ OF DCIP ในการตรวจคัดกรอง Thalassemia.pdf
ขนาดไฟล์ 688KB
ดาวน์โหลด 13 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน