คุณกำลังมองหาอะไร?

รื่องเล่าเร้าพลัง การคัดกรองหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและการบริหารจัดการในแต่ละระดับสถานบริการของเขตสุขภาพที่ 3

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.04.2567
11
0
แชร์
26
เมษายน
2567

เรื่องเล่าเร้าพลัง
การคัดกรองหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและการบริหารจัดการในแต่ละระดับสถานบริการของเขตสุขภาพที่ 3
ผู้จัดทำ จริยา บุญอนันต์และคณะ
กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 3
จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของเขตสุขภาพที่ 3 เราจะพบว่าการตายมารดาเกิดจากสาเหตุโดยตรง (Direct cause) คิดเป็นร้อยละ 60 และเกิดจากสาเหตุทางอ้อม (Indirect cause) คิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งใกล้เคียงกับข้อมูลของประเทศเราจึงได้นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้นั้นมาสาเหตุเชิงลึกว่าเกิดจากอไรแล้วนำมาสร้างกรอบแนวคิดโดยใช้ Mind map ซึ่งพบว่าปัญหาเกิดจากขาดการคัดกรองความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ , ขาดการใช้ Classifying form 18 ข้อ อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ และเมื่อประเมินความเสี่ยงแล้วก็ยังพบว่าไม่มีระบบในการบริหารจัดการหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในระยะคลอดต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมารดาตายในระยะคลอดและหลังคลอดได้ ดังนั้นเราจึงเลือกประเด็นนี้มาทำการจัดการความรู้
ซึ่งหลังจากนั้นเราได้มีการทบทวนวรรณกรรมจากเอกสารตำราทางสูติศาสตร์และการประชุม Teleconference ของงาน MCH Board ของกรมอนามัยพบว่ามีรูปแบบของจังหวัดอุดรธานี(Udol Model ) เป็นรูปแบบที่ดีน่าทดลองเอามาต่อยอดในการทำงานจึงได้ชักชวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางด้านสูติศาสตร์ที่เป็นผู้ที่รับผิดชอบหลักที่เกี่ยวข้องกับงานฝากครรภ์ของเขตสุขภาพที่ 3 เช่นคณะกรรมการ MCH Board ของแต่ละจังหวัด สูติแพทย์ นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ในแผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปมาร่วมพูดคุยกันในวันที่ 8 ธันวาคม 2559 จำนวน 65 คน แต่เนื่องจากระยะเวลามีจำกัดจึงต้องแบ่งสมาชิกออกเป็น 2 กลุ่ม โดยมีสูติแพทย์คอยเป็นผู้คอยช่วยเหลือ ( Facilitator ) และสมาชิกที่ร่วมพูดคุยทั้งสองกลุ่มนั้นมีแบ่งโดยให้มีผู้รับผิดชอบของแต่ละจังหวัดคละกันเพื่อจะได้ข้อมูลครบถ้วน ทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นตั้งแต่การแบ่งระดับความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์และการบริหารจัดการในแต่ละระดับสถานบริการซึ่งก็ได้ประเด็นออกมาตามข้อตกลงร่วมกันสมาชิกของสมาชิกในทีมสำหรับอีกกลุ่มจะร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นระบบการดูแล Case very high risk , การพัฒนาระบบ Consult สูติแพทย์แม่ข่าย/รพศ.โดยใช้ Group line ในการส่งต่อ , การวางแผนการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และ Early warning signs เพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ร่วมกันได้ซึ่งทั้งสองกลุ่มก็ได้ประเด็นออกมาครบถ้วนหลังจากนั้นให้ทั้งสองกลุ่มนำเสนอสิ่งที่ได้ให้ที่ปรึกษาคณะกรรมการ MCH Board ของเขตสุขภาพที่ 3 และประธาน Service Plan รับฟังเพื่อช่วยวิพากษ์ในประเด็นที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปรับแก้ไขให้สามารถนำไปปฏิบัติได้และนำประเด็นทั้งหมดที่ได้จากการดูโดยผู้ที่เชี่ยวชาญกว่า
3จากนั้นได้นำเสนอในวันที่ 9 ธันวาคม 2559 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 110 คนซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ MCH Board ของแต่ละจังหวัด สูติแพทย์ นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ในแผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป รพช.และรพสต.โดยมีท่านสาธารณสุขนิเทศของเขตสุขภาพที่ 3 เป็นประธานและเป็นผู้ตอบในประเด็นในส่วนของการบริหารจัดการในภาพรวมของเขตสุขภาพที่ 3 ในครั้งนี้ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ครบตามวัตถุประสงค์คือได้รูปแบบการคัดกรองและการบริหารจัดการหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงในแต่ละระดับสถานบริการของเขตสุขภาพที่ 3 , ได้ระบบการส่งต่อที่แต่ละจังหวัดจะต้องนำไปปรับให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละจังหวัดของตนเอง รวมถึงได้ Early Warning Sign และการประชาสัมพันธ์ในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนดูแลตัวเองได้
จากประเด็นที่ได้ทั้งหมดจึงนำเสนอต่อ MCH Board ของเขตและสื่อสารในหน่วยงาน FB ของศอ.3 ซึ่งท่านสาธารณสุขนิเทศได้เสนอว่าควรจะนำแนวทางการคัดกรองหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและการบริหารจัดการในแต่ละระดับสถานบริการของเขตบริการที่ 3 เป็นกรอบในการทำงานและทุกรพของเขตสุขภาพที่ 3 .โดยนำไปปรับให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละจังหวัด และมีประเด็นที่ท่านชี้แนะให้ดำเนินการต่อคือต้องการติดตามการนำแนวทางไปใช้ว่ามีปัญหา/อุปสรรคหรือไม่อย่างไรเพราะมีการเก็บเป็นตัวชี้วัดด้วยซึ่งต้องคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ ≥ 20 เปอร์เซ็นต์และเมื่อปรับเหมาะสมดีแล้วควรนำเสนอไปใน MCH Board ของเขตสุขภาพที่ 3 เพื่อประกาศเป็นนโยบายต่อไป

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

ClusterMCH60.pdf
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน