
โรคกระดูกพรุนคืออะไร?
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่มวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกบาง เปราะ และแตกหักง่ายกว่าปกติ

ทำไมกระดูกถึงพรุน?
เมื่อร่างกายสูญเสียมวลกระดูกมากกว่าที่สร้างขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างกระดูกอ่อนแอ ภายในกระดูกมีรูพรุนมากขึ้น คล้ายฟองน้ำ เสี่ยงต่อการหัก แม้เกิดแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย

ผลกระทบของโรคกระดูกพรุน

กระดูกหักง่าย โดยเฉพาะสะโพก ข้อมือ และกระดูกสันหลัง

ปวดหลังเรื้อรังจากกระดูกทรุดตัว

ส่วนสูงลดลง หรือหลังค่อมจากกระดูกสันหลังยุบตัว

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคนี้?

ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

ผู้ที่รับแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ

ผู้ที่ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ

ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

ป้องกันได้ตั้งแต่วันนี้!

รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งกระดูก

ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ฝึกการทรงตัว

รับแสงแดดเพื่อให้ร่างกายสร้างวิตามินดี

หลีกเลี่ยงบุหรี่และแอลกอฮอล์

หมั่นตรวจสุขภาพกระดูกเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density: BMD Test)

ใช้เครื่องเอกซเรย์พิเศษที่เรียกว่า DEXA scan (Dual-Energy X-ray Absorptiometry) เพื่อตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกที่บริเวณ สะโพก กระดูกสันหลัง และข้อมือ

เป็นวิธีมาตรฐานที่แม่นยำและใช้ประเมินภาวะกระดูกพรุน

ปรึกษาเราได้ค่ะ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ "เคียงข้าง เข้าใจ ห่วงใยคุณ"